การพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม
Smart Store “มุ่งมั่นลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”
นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจและการเติบโตควบคู่กับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการดำเนินงานของบริษัทอาจไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ก่อให้เกิดมลภาวะเหมือนกับโรงงานอุตสาหกรรม แต่บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการดำเนินงานของบริษัท โดยได้จัดทำ “นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม” เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
Smart Stores
ตัวชี้วัด | 2563 | 2564 | 2565 | เป้าหมาย | ปีเป้าหมาย |
---|---|---|---|---|---|
สัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทน | 57.75% | 52.15% | 53.46% | 63% | 2027 |
ปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงงานแสงอาทิตย์ (kWh / ปี) | 77,049,661 | 78,860,821 | 79,611,969 | 100,000,000 | 2027 |
การใช้พลังงานต่อพื้นที่ลดลงจากปีฐาน (ปีฐาน 2561) | -7.11% | -7.72% | -0.83% | -7.00% | 2027 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ Scope 2 ต่อรายได้รวมลดลงจากปีฐาน % (ปีฐาน 2565) | - | - | - | -10.00% | 2030 |
ปริมาณการใช้น้ำประปาต่อสาขาที่ลดลงจากปีฐาน (ปีฐาน 2563) | 0% | -6.39% | 4.74% | -10.00% | 2027 |
ปริมาณการนำน้ำกลับมาใช้ | 81,987.52 | 113,993.94 | 118,751.40 | 150,000.00 | 2027 |
ปริมาณขยะที่ส่งไปฝังกลบ (ตัน) | - | - | - | ||
ปริมาณขยะรีไซเคิล (ตัน) | - | 2,563 | 2,430 | - | 2025 |
เพิ่มพื้นที่สีเขียวสะสม (ตร.ม.) | 9,926 | 11,800 | 15,200 | - | - |
ปริมาณการใช้กระดาษ A4 ต่อสาขา (แผ่น) | 31,169 | 33,820 | 32,824 | 28,000 | 2030 |
การบริหารจัดการพลังงาน
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการจัดการด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพดูแลรักษาไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable Resource Use) พร้อมกับการลดและปรับตัวให้เข้ากับภาวะโลกร้อน (Climate Change Mitigation and Adaptation) ซึ่งเริ่มตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างตัวอาคาร การปรับปรุงกระบวนการทำงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงาน
แนวทางการบริหารจัดการ
1. การดำเนินการภายในข้อกำหนด กฎหมาย และมาตรฐานระดับสากล
2. ตั้งแต่ปี 2559 ได้มีนโยบายติดตั้งระบบการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage & Retrieval System : ASRS) ซึ่งเป็นระบบปิดไม่ต้องใช้แสงสว่างในการทำงาน สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าแล้ว ระบบ ASRS ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารคลังสินค้าของบริษัทฯให้ดีขึ้น
3. ในปี 2560 มีแผนการดำเนินการเปลี่ยนระบบปรับอากาศจากพัดลมไอน้ำมาเป็นระบบเครื่องปรับอากาศ (Air Condition) และปรับปรุงแสงสว่างภายในร้าน ซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงมีนโยบายติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารร้านค้าทุกสาขา (Solar Rooftop) เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการประหยัดพลังงานระยะยาว และทำการติดตั้งครบทุกสาขาแล้วในปี 2562 ทำให้บริษัทฯสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ อีกทั้งในปี 2563 บริษัทฯได้พัฒนาโปรแกรมควบคุมการทำงานของระบบปรับอากาศ ทำให้ลดการใช้พลังงานได้เพิ่มขึ้นอีก
ผลการดำเนินงาน
ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง
ปี | จำนวนสาขา | ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh) | ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่ (kWh / ตารางเมตร) |
---|---|---|---|
2564 | 75 | 72,367,475.00 | 47.97 |
2565 | 77 | 69,305,359.00 | 45.25 |
2566 | 83 | 74,017,211.48 | 41.16 |
1. การใช้พลังงานทดแทน (พลังงานแสงอาทิตย์ Solar roof top)
ตั้งแต่ปี 2560 บริษัทฯ มีนโยบายที่จะใช้พลังงานทดแทน จึงเริ่มโครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารร้านค้าทุกสาขา (Solar Rooftop) เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด อีกทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ ซึ่งในปี 2565 บริษัทฯมีหลังคาโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ครบทุกสาขาแล้ว รวม 77 สาขา
ปี | จำนวนสาขา | จำนวนสาขาสะสมที่ติดตั้ง (Solar cell) | ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ (kWh / year) |
---|---|---|---|
2563 | 71 | 71 | 77,049,661 |
2564 | 75 | 75 | 78,860,821 |
2565 | 77 | 77 | 79,611,969 |
2. โครงการเปลี่ยนระบบไฟภายในและภายนอกอาคาร
บริษัทฯ มีแผนดำเนินการปรับปรุงระบบแสงสว่างทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งทำให้บริษัทสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 151,651 kWh / year
โครงการ | จำนวนสาขา | ปริมาณพลังงาน ที่ลดลง (kWh / Year) |
---|---|---|
เปลี่ยนไฟถนนรอบอาคารจากเดิม Street Light 120 Watt มาใช้ระบบโซล่าร์เซลล์ | 3 | 58,458 |
เปลี่ยนไฟโรงจอดรถลูกค้าจากเดิม LED 20 Watt มาใช้ระบบโซล่าร์เซลล์ | 3 | 3,815 |
เปลี่ยนไฟแสงสว่างในถาดแสดงสินค้า จากเดิม LED 14 Watt เป็น LED 10 Watt | 3 | 63,072 |
เปลี่ยนไฟแสงสว่างในช่องทางเดินระหว่างชั้นวางสินค้า จากเดิม TLD 36 Watt 13 ชุด เป็น LED 48 Watt 4 ชุด | 3 | 20,031 |
เปลี่ยนไฟแสงสว่างในช่องแร็กวางสินค้า จากเดิม TLD 20 Watt เป็น LED 18 Watt | 3 | 6,275 |
3. อาคารการติดตั้งระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage & Retrieval System: ASRS)
ตั้งแต่ปี 2559 บริษัทฯ มีนโยบายติดตั้งระบบการจัดเก็บสินค้าคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage & Retrieval System : ASRS) ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว แม่นยำ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารคลังสินค้าของบริษัทฯ ให้ดีขึ้น นอกจากนี้ระบบการจัดเก็บสินค้าคลังอัตโนมัติเป็นระบบปิด ไม่ต้องใช้แสงสว่างในการทำงาน ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้
การบริหารจัดการน้ำ
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานของบริษัทฯ จะใช้น้ำจากการประปา น้ำบาดาลและน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัด (Recycle) เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของน้ำและเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและใช้ให้เกิดคุณค่าสูงสุด
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ มีการจัดการการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำส่วนใหญ่ภายในอาคารสาขา และร้านอาหารพนักงาน เพื่อการชำระล้าง ทั้งนี้บริษัทฯ มีความพยายามที่จะลดปริมาณการใช้น้ำ ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายเทคนิคทำการตรวจสอบท่อประปา อุปกรณ์ชะล้างและมาตรวัดน้ำ อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน สำหรับการขยายสาขาใหม่ และการปรับปรุงสาขาเดิมได้กำหนดให้ติดตั้งสุขภัณฑ์แบบประหยัดน้ำ โถปัสสาวะและก๊อกน้ำอัตโนมัติ นอกจากนี้บริษัทฯได้ดำเนินโครงการลดการปล่อยน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยน้ำทิ้งจากอาคารสาขาที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้ว ได้นำกลับมาใช้ใหม่ในการรดน้ำต้นไม้ สามารถลดปริมาณการใช้น้ำจากการประปา และน้ำบาดาลได้ โดยมีข้อมูลการใช้น้ำระหว่างปี 2563-2565 ดังนี้
ผลการดำเนินงานปี 2565
สถิติการใช้น้ำ
2564 | 2565 | 2566 | |
---|---|---|---|
จำนวนสาขาสะสม | 71 | 75 | 77 |
จำนวนสาขาสะสม ใช้น้ำประปา | 57 | 61 | 63 |
จำนวนสาขาสะสม ใช้น้ำบาดาล | 14 | 14 | 14 |
จำนวนสาขาสะสม ที่ทำระบบรดน้ำต้นไม้ | 20 | 26 | 29 |
ปริมาณการใช้น้ำแยกตามแหล่ง | |||
• ปริมาณใช้น้ำประปาสะสม (ลบ.ม. / ปี) | 296,394 | 296,940 | 343,113 |
• ปริมาณใช้น้ำบาดาลสะสม (ลบ.ม. / ปี) | 87,444 | 95,670 | 58,472 |
รวมปริมาณการใช้น้ำ (ลบ.ม. / ปี) | 383,838 | 392,610 | 401,585 |
อัตราการใช้น้ำสุทธิต่อสาขา | |||
• อัตราการใช้น้ำประปา / สาขา* | 5,199 | 4,867 | 5,447 |
• อัตราการใช้น้ำบาดาล / สาขา* | 6,246 | 6,834 | 4,177 |
• ปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ซ้ำ (ลบ.ม. / ปี) | 137,515 | 224,640 | 250,560 |
พื้นที่สีเขียวสะสม (ตรม.) | 9,926 | 11,800 | 15,200 |
อัตราการใช้น้ำ ปี 2563-2565
การบริหารจัดการขยะ ของเสีย และวัสดุเหลือใช้
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย
บริษัทฯ มีนโยบายและแนวทางการกำจัดขยะและของเสียที่เกิดขึ้นภายในร้านสาขาของบริษัทฯ อย่างเหมาะสมเป็นระบบไม่มีผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับกฎหมาย โดยขยะและของเสียที่เกิดขึ้นนั้นมีแหล่งที่มาจากการดำเนินงาน ลูกค้าที่มาใช้บริการและพนักงานของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นลดขยะเศษวัสดุรวมถึงรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกด้วย
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ จัดให้มีการคัดแยกขยะและของเสียอย่างชัดเจน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ขยะเศษวัสดุทั่วไป ขยะทั่วไป ขยะเปียก และขยะติดเชื้อ ซึ่งมีรายละเอียดและแนวทางการจัดการ ดังนี้
- ขยะเศษวัสดุ เป็นขยะที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้แก่ กล่องและลังกระดาษที่บรรจุสินค้า สายรัดพลาสติก สายรัดเหล็ก กระป๋องสีพลาสติก และเศษเหล็ก บริษัทฯจะดำเนินการจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อในท้องถิ่นและกำหนดให้มีการประกวดราคาเป็นประจำทุกปี
- ขยะเปียก มาจากร้านอาหารสำหรับพนักงาน ซึ่งมีปริมาณไม่มาก โดยจะคัดแยกเศษอาหารและให้พนักงานที่ต้องการนำไปเลี้ยงสัตว์ หรือทำปุ๋ยชีวภาพ
- ขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย ผ้าพันแผล และสำลีทำความสะอาด บริษัทฯกำหนดให้ทิ้งในถุงขยะสำหรับ “ขยะติดเชื้อ” และจัดเก็บอย่างมิดชิด โดยให้หน่วยงานเทศบาลนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
- ขยะทั่วไป กำหนดให้ทำการคัดแยกและทำพื้นที่จัดเก็บ เพื่อให้หน่วยงานเทศบาลในพื้นที่นำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล
1. โครงการช้อปรักษ์โลก
บริษัทฯ ยังได้มีรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติก เนื่องจากตระหนักว่าถุงพลาสติกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดขยะและการเผาทำลายก็จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้อุณภูมิโลกสูงขึ้นและเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก จึงได้จัดโครงการ “ช้อปรักษ์โลก” ด้วยการเชิญชวนลูกค้าปฏิเสธการรับถุงพลาสติกรวมทั้งการเพิ่มคะแนนสะสมให้กับลูกค้าที่เป็นสมาชิกอีกด้วย
2. โครงการแยกแล้วดี
บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางและมีการจัดการที่ถูกต้องจนถึงปลายทาง จึงได้จัดโครงการ “แยกแล้วดี” เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ การลดขยะรวมถึงการนำขยะไปสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำขยะเข้าสู่กระบวนการจัดการให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง
3. การบริหารจัดการการใช้กระดาษ
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย
บริษัทฯ ให้ความใส่ใจการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการตัดต้นไม้ รวมถึงลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตกระดาษ บริษัทฯ จึงได้มีการกำหนดเป้าหมาย “ลดการใช้กระดาษ” โดยได้กำหนดเป้าหมายลดกระดาษลงเหลือ 28,000 แผ่นต่อสาขา ภายในปี 2573
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมการลดการใช้กระดาษขนาด A4 โดยเริ่มจากการเปลี่ยนรูปแบบของใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี จากการใช้กระดาษขนาด A4 มาเป็นกระดาษ A5 นอกจากนี้ในการทำงานของส่วนสำนักงาน บริษัทฯรณรงค์ให้มีการใช้กระดาษอย่างรู้ค่า โดยกำหนดให้พิมพ์เอกสารตามความจำเป็นเพื่อลดการใช้กระดาษ (Reduce) และให้นำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ (Reused) รวมทั้งปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบไร้กระดาษ (Paperless) ด้วยการพัฒนาโปรแกรมใช้งานภายในองค์กร
ผลการดำเนินงาน 2565
ปี 2565 ปริมาณกระดาษ A4 ที่ใช้ในการดำเนินงานมีปริมาณลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 9,500 แผ่น หรือคิดเทียบต่อสาขาจำนวน 922 แผ่น
ปริมาณการใช้กระดาษต่อปี | 2563 | 2564 | 2565 |
---|---|---|---|
ปริมาณกระดาษ A4 ที่ใช้ในส่วนสำนักงาน (แผ่น) | 2,213,000 | 2,536,500 | 2,527,500 |
จำนวนสาขา | 71 | 75 | 77 |
อัตราการใช้ต่อสาขา (แผ่น) | 31,169 | 33,820 | 32,824 |
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ซึ่งทั่วโลกได้ให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯได้ให้ความสำคัญในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization ; CFO) โดยเริ่มดำเนินการในปี 2565 เพื่อทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัท พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินกิจกรรมตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 10% จากปีฐาน (ปี2565) ภายในปี 2573
ความเสี่ยงและโอกาส
Risks | Impact | Opportunity |
---|---|---|
Physical Risks | • ลูกค้าและรายได้ลดลงจากการปิดสาขาชั่วคราว • ค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้น | • เพิ่มช่องทางขายออนไลน์ • ติดตั้งระบบ ASRS • ติดตั้ง Solar Rooftop |
Low Carbon Policy | • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มขึ้นจากการปฏิบัติตามนโยบายการลดคาร์บอน | • เปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานเป็นระบบไฟฟ้า เช่น โฟล์คลิฟต์ไฟฟ้า, EV เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
Technology & Marketing | • แนวโน้มลูกค้ามีความต้องการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้ากลุ่มเดิม | • โอกาสในการทำตลาด ECO Product และสร้างนวัตกรรมบริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม |
Reputation Risk | • ความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ | • โอกาสให้การสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้ธุรกิจและสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ |
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯดำเนินธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน มีการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้บริการลูกค้า บริษัทฯให้ความสำคัญกับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรง(Scope1) และทางอ้อม(Scope2) โดยใช้นโยบายการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ เป็นประเภทไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และนโยบายการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง รวมถึงมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยลดการใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือ 58% ของกิจกรรมทั้งหมด
ในปี 2565 บริษัทฯได้เริ่มประเมินคาร์บอนฟุตพิ้นท์ขององค์กร หรือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆของบริษัท เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง ซึ่งแสดงผลในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ทำให้ทราบจุดที่มีนัยสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทและจะนำไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในดังนี้
ขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ประเภท 1 | ประเภท 2 | ประเภท 3 |
---|---|---|
• ปริมาณน้ำมันแก๊สโซลีน / ดีเซลสำหรับรถผู้บริหาร • ปริมาณน้ำมันดีเซลรถจัดส่งสินค้า • ปริมาณน้ำมันเบนซิลรถตัดหญ้า • ปริมาณ LPG / ดีเซล / เบนซินสำหรับรถ Forklift • ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลของ Generator / Fire pump • ปริมาณการใช้สารดับเพลิง CO2 • ปริมาณสารทำความเย็นชนิด R32 / R410A / R407C / R134A / R404A / R401A • ปริมาณการเกิดมีเทนจาก Septic tank • ปริมาณมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบ activated sludge | • ปริมาณการใช้ไฟฟ้า | • ปริมาณการซื้อกระดาษ ขนาด A4 70 แกรม / A5 • ปริมาณการซื้อถุงหูหิ้ว (LDPE) • น้ำประปาส่วนภูมิภาค / การประปานครหลวง • การได้มาน้ำมันแก๊สโซลีน / เบนซิน / ดีเซล / LPG / ไฟฟ้า • การขนส่งวัตถุดิบ (กระดาษ ถุงหูหิ้ว) • การจัดการขยะแบบฝังกลบ • การเดินทางของพนักงานมายังที่ทำงาน • การกำจัดซากผลิตภัณฑ์ (กระดาษพิมพ์ใบกำกับภาษี (A5) ถุงหูหิ้ว กระดาษ) • ปริมาณการใช้ไฟฟ้าผู้เช่า |
รายละเอียดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (Carbon Footprint for Organization : CFO) *
* หมายเหตุ : บริษัทฯ ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรโดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565 และได้ผ่านการทวนสอบโดย “ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นผู้ทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
1. การใช้รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) และรถยกไฟฟ้า (Electric Stacker)
ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา บริษัทฯ มีนโยบายใช้รถโฟล์คลิฟท์กับสาขาที่เปิดดำเนินการใหม่ และทดแทนรถโฟล์คลิฟท์ระบบเชื้อเพลิงของสาขาเดิมที่ครบอายุการใช้งานแล้ว ด้วยความตระหนักว่าการใช้รถโฟล์คลิฟท์ แม้จะอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน แต่การเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สร้างมลภาวะทางอากาศซึ่งการทำงานของรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า และรถยกไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. โครงการติดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger Station)
บริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า ในบริเวณพื้นที่ให้บริการของสาขา เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท โดยสิ้นปี 2565 มีจำนวนสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 12 สาขา
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยระบบดิจิทัล (Digital Lucky Draw)
ปี 2565 บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย “ใช้ร้อยชิงล้าน” ซีซั่น 9 เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งสามารถลดการใช้กระดาษขนาด A5 เพื่อใช้พิมพ์คูปองชิงโชคได้มากถึง 17,963,606 ใบ และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขนส่งคูปองชิงโชคจากทุกสาขามายังสำนักงานใหญ่ อีกทั้งได้ปรับเปลี่ยนประเภทของรางวัลเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จำนวน 9 คัน แทนการมอบรถยนต์ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- ให้ความรู้และฝึกอบรมพนักงานในเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงประชาสัมพันธ์วิธีการลดใช้พลังงานในสำนักงานผ่านสื่อภายในองค์กร เช่น ป้ายรณรงค์ประหยัดพลังงาน บอร์ดประชาสัมพันธ์ อินทราเน็ต ฯลฯ
- ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานร่วมกันลดใช้พลังงาน เช่น การประหยัดไฟฟ้า การประหยัดน้ำ รวมถึงหมั่นตรวจสอบท่อน้ำ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- รณรงค์ให้ผู้บริหารและพนักงาน ปิดเครื่องปรับอากาศ และปิดไฟในช่วงเวลาพักหรือช่วงเวลาไม่ได้อยู่ในห้องทำงานเป็นเวลานาน
บรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
บริษัทมีสินค้ากว่า 10,000 รายการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท หรือ เรียกว่าสินค้า House Brand โดยมีแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ซึ่งกำหนดให้บรรจุภัณฑ์ของสินค้าHouse Brand จะต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือ สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปี 2565 บริษัทมีปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ของสินค้า House brand แยกตามประเภทบรรจุภัณฑ์ ดังนี้
บรรจุภัณฑ์พลาสติก
บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด(ตัน) | บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล(ร้อยละของน้ำ หนักรวม) | บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้(ร้อยละของน้ำ หนักรวม) | บรรจุภัณฑ์ที่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ(ร้อยละของน้ำ หนักรวม) | การครอบคลุมของข้อมูล (ร้อยละของต้นทุนสินค้าที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทฯ) | เป้าหมายปี 2565 (ตัน) |
---|---|---|---|---|---|
959.48 | 4.87 | 3.00 | 0.77 | 100 | 900 |
บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติก
ประเภทบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติกแยกตามประเภท(ตัน) | ปริมาณน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ทั้งหมด(ตัน) | บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่และหรือได้รับการรับรอง (ร้อยละของน้ำ หนักรวม) | การครอบคลุมของข้อมูล (ร้อยละของต้นทุนสินค้า* (House Brand) | เป้าหมายปี 2565 (ร้อยละ) |
---|---|---|---|---|
ไม้/กระดาษ | 13,238.48 | 70.72 | 100 | 70% |
โลหะ(เหล็ก อลูมิเนียม) | 77.76 | - | 100 | - |
แก้ว | - | - | - |