การพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม

Smart Store “มุ่งมั่นลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม

         บริษัทฯ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจและการเติบโตควบคู่กับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการดำเนินงานของบริษัทอาจไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ก่อให้เกิดมลภาวะเหมือนกับโรงงานอุตสาหกรรม แต่บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการดำเนินงานของบริษัท โดยได้จัดทำ “นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม” เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

Smart Stores

ตัวชี้วัด256325642565เป้าหมายปีเป้าหมาย
สัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทน57.75%52.15%53.46%63%2027
ปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงงานแสงอาทิตย์ (kWh / ปี)77,049,66178,860,82179,611,969100,000,0002027
การใช้พลังงานต่อพื้นที่ลดลงจากปีฐาน (ปีฐาน 2561)-7.11%-7.72%-0.83%-7.00%2027
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ Scope 2 ต่อรายได้รวมลดลงจากปีฐาน % (ปีฐาน 2565)----10.00%2030
ปริมาณการใช้น้ำประปาต่อสาขาที่ลดลงจากปีฐาน (ปีฐาน 2563)0%-6.39%4.74%-10.00%2027
ปริมาณการนำน้ำกลับมาใช้81,987.52113,993.94118,751.40150,000.002027
ปริมาณขยะที่ส่งไปฝังกลบ (ตัน)---
ปริมาณขยะรีไซเคิล (ตัน)-2,5632,430-2025
เพิ่มพื้นที่สีเขียวสะสม (ตร.ม.)9,92611,80015,200--
ปริมาณการใช้กระดาษ A4 ต่อสาขา (แผ่น)31,16933,82032,82428,0002030

การบริหารจัดการพลังงาน

         บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการจัดการด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพดูแลรักษาไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable Resource Use) พร้อมกับการลดและปรับตัวให้เข้ากับภาวะโลกร้อน (Climate Change Mitigation and Adaptation) ซึ่งเริ่มตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างตัวอาคาร การปรับปรุงกระบวนการทำงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงาน

แนวทางการบริหารจัดการ

1. การดำเนินการภายในข้อกำหนด กฎหมาย และมาตรฐานระดับสากล
2. ตั้งแต่ปี 2559 ได้มีนโยบายติดตั้งระบบการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage & Retrieval System : ASRS) ซึ่งเป็นระบบปิดไม่ต้องใช้แสงสว่างในการทำงาน สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าแล้ว ระบบ ASRS ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารคลังสินค้าของบริษัทฯให้ดีขึ้น
3. ในปี 2560 มีแผนการดำเนินการเปลี่ยนระบบปรับอากาศจากพัดลมไอน้ำมาเป็นระบบเครื่องปรับอากาศ (Air Condition) และปรับปรุงแสงสว่างภายในร้าน ซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงมีนโยบายติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารร้านค้าทุกสาขา (Solar Rooftop) เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการประหยัดพลังงานระยะยาว และทำการติดตั้งครบทุกสาขาแล้วในปี 2562 ทำให้บริษัทฯสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ อีกทั้งในปี 2563 บริษัทฯได้พัฒนาโปรแกรมควบคุมการทำงานของระบบปรับอากาศ ทำให้ลดการใช้พลังงานได้เพิ่มขึ้นอีก

ผลการดำเนินงาน

ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง
ปีจำนวนสาขาปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh)ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่ (kWh / ตารางเมตร)
25637156,380,314.2738.87
25647572,367,475.0047.97
25657769,305,359.0045.25
1. การใช้พลังงานทดแทน (พลังงานแสงอาทิตย์ Solar roof top)

         ตั้งแต่ปี 2560 บริษัทฯ มีนโยบายที่จะใช้พลังงานทดแทน จึงเริ่มโครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารร้านค้าทุกสาขา (Solar Rooftop) เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด อีกทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ ซึ่งในปี 2565 บริษัทฯมีหลังคาโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ครบทุกสาขาแล้ว รวม 77 สาขา

ปีจำนวนสาขาจำนวนสาขาสะสมที่ติดตั้ง (Solar cell)ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ (kWh / year)
2563717177,049,661
2564757578,860,821
2565777779,611,969
2. โครงการเปลี่ยนระบบไฟภายในและภายนอกอาคาร

         บริษัทฯ มีแผนดำเนินการปรับปรุงระบบแสงสว่างทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งทำให้บริษัทสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 151,651 kWh / year 

โครงการจำนวนสาขาปริมาณพลังงาน ที่ลดลง (kWh / Year)
เปลี่ยนไฟถนนรอบอาคารจากเดิม Street Light 120 Watt มาใช้ระบบโซล่าร์เซลล์358,458
เปลี่ยนไฟโรงจอดรถลูกค้าจากเดิม LED 20 Watt มาใช้ระบบโซล่าร์เซลล์33,815
เปลี่ยนไฟแสงสว่างในถาดแสดงสินค้า จากเดิม LED 14 Watt เป็น LED 10 Watt363,072
เปลี่ยนไฟแสงสว่างในช่องทางเดินระหว่างชั้นวางสินค้า จากเดิม TLD 36 Watt 13 ชุด เป็น LED 48 Watt 4 ชุด320,031
เปลี่ยนไฟแสงสว่างในช่องแร็กวางสินค้า จากเดิม TLD 20 Watt เป็น LED 18 Watt36,275
3. อาคารการติดตั้งระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage & Retrieval System: ASRS)

         ตั้งแต่ปี 2559 บริษัทฯ มีนโยบายติดตั้งระบบการจัดเก็บสินค้าคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage & Retrieval System : ASRS) ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว แม่นยำ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารคลังสินค้าของบริษัทฯ ให้ดีขึ้น นอกจากนี้ระบบการจัดเก็บสินค้าคลังอัตโนมัติเป็นระบบปิด ไม่ต้องใช้แสงสว่างในการทำงาน ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้

การบริหารจัดการน้ำ

ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

         บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานของบริษัทฯ จะใช้น้ำจากการประปา น้ำบาดาลและน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัด (Recycle) เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของน้ำและเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและใช้ให้เกิดคุณค่าสูงสุด 

แนวทางการบริหารจัดการ

         บริษัทฯ มีการจัดการการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำส่วนใหญ่ภายในอาคารสาขา และร้านอาหารพนักงาน เพื่อการชำระล้าง ทั้งนี้บริษัทฯ มีความพยายามที่จะลดปริมาณการใช้น้ำ ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายเทคนิคทำการตรวจสอบท่อประปา อุปกรณ์ชะล้างและมาตรวัดน้ำ อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน สำหรับการขยายสาขาใหม่ และการปรับปรุงสาขาเดิมได้กำหนดให้ติดตั้งสุขภัณฑ์แบบประหยัดน้ำ โถปัสสาวะและก๊อกน้ำอัตโนมัติ นอกจากนี้บริษัทฯได้ดำเนินโครงการลดการปล่อยน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยน้ำทิ้งจากอาคารสาขาที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้ว ได้นำกลับมาใช้ใหม่ในการรดน้ำต้นไม้ สามารถลดปริมาณการใช้น้ำจากการประปา และน้ำบาดาลได้  โดยมีข้อมูลการใช้น้ำระหว่างปี 2563-2565 ดังนี้

ผลการดำเนินงานปี 2565

สถิติการใช้น้ำ

256325642565
จำนวนสาขาสะสม717577
จำนวนสาขาสะสม ใช้น้ำประปา576163
จำนวนสาขาสะสม ใช้น้ำบาดาล141414
จำนวนสาขาสะสม ที่ทำระบบรดน้ำต้นไม้202629
ปริมาณการใช้น้ำแยกตามแหล่ง
• ปริมาณใช้น้ำประปาสะสม (ลบ.ม. / ปี)296,394296,940343,113
• ปริมาณใช้น้ำบาดาลสะสม (ลบ.ม. / ปี)87,44495,67058,472
รวมปริมาณการใช้น้ำ (ลบ.ม. / ปี)383,838392,610401,585
อัตราการใช้น้ำสุทธิต่อสาขา
• อัตราการใช้น้ำประปา / สาขา*5,1994,8675,447
• อัตราการใช้น้ำบาดาล / สาขา*6,2466,8344,177
• ปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ซ้ำ (ลบ.ม. / ปี)137,515224,640250,560
พื้นที่สีเขียวสะสม (ตรม.)9,92611,80015,200

อัตราการใช้น้ำ ปี 2563-2565

การบริหารจัดการขยะ ของเสีย และวัสดุเหลือใช้

ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

         บริษัทฯ มีนโยบายและแนวทางการกำจัดขยะและของเสียที่เกิดขึ้นภายในร้านสาขาของบริษัทฯ อย่างเหมาะสมเป็นระบบไม่มีผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับกฎหมาย โดยขยะและของเสียที่เกิดขึ้นนั้นมีแหล่งที่มาจากการดำเนินงาน ลูกค้าที่มาใช้บริการและพนักงานของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นลดขยะเศษวัสดุรวมถึงรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกด้วย

แนวทางการบริหารจัดการ

         บริษัทฯ จัดให้มีการคัดแยกขยะและของเสียอย่างชัดเจน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ขยะเศษวัสดุทั่วไป ขยะทั่วไป ขยะเปียก และขยะติดเชื้อ ซึ่งมีรายละเอียดและแนวทางการจัดการ ดังนี้

  • ขยะเศษวัสดุ เป็นขยะที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้แก่ กล่องและลังกระดาษที่บรรจุสินค้า สายรัดพลาสติก สายรัดเหล็ก กระป๋องสีพลาสติก และเศษเหล็ก บริษัทฯจะดำเนินการจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อในท้องถิ่นและกำหนดให้มีการประกวดราคาเป็นประจำทุกปี
  • ขยะเปียก มาจากร้านอาหารสำหรับพนักงาน ซึ่งมีปริมาณไม่มาก โดยจะคัดแยกเศษอาหารและให้พนักงานที่ต้องการนำไปเลี้ยงสัตว์ หรือทำปุ๋ยชีวภาพ
  • ขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย ผ้าพันแผล และสำลีทำความสะอาด บริษัทฯกำหนดให้ทิ้งในถุงขยะสำหรับ “ขยะติดเชื้อ” และจัดเก็บอย่างมิดชิด โดยให้หน่วยงานเทศบาลนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
  • ขยะทั่วไป กำหนดให้ทำการคัดแยกและทำพื้นที่จัดเก็บ เพื่อให้หน่วยงานเทศบาลในพื้นที่นำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล
1. โครงการช้อปรักษ์โลก

         บริษัทฯ ยังได้มีรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติก เนื่องจากตระหนักว่าถุงพลาสติกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดขยะและการเผาทำลายก็จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้อุณภูมิโลกสูงขึ้นและเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก จึงได้จัดโครงการ “ช้อปรักษ์โลก” ด้วยการเชิญชวนลูกค้าปฏิเสธการรับถุงพลาสติกรวมทั้งการเพิ่มคะแนนสะสมให้กับลูกค้าที่เป็นสมาชิกอีกด้วย

2. โครงการแยกแล้วดี

         บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางและมีการจัดการที่ถูกต้องจนถึงปลายทาง จึงได้จัดโครงการ “แยกแล้วดี” เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ การลดขยะรวมถึงการนำขยะไปสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำขยะเข้าสู่กระบวนการจัดการให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง

3. การบริหารจัดการการใช้กระดาษ
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

         บริษัทฯ ให้ความใส่ใจการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการตัดต้นไม้ รวมถึงลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตกระดาษ บริษัทฯ จึงได้มีการกำหนดเป้าหมาย “ลดการใช้กระดาษ” โดยได้กำหนดเป้าหมายลดกระดาษลงเหลือ 28,000 แผ่นต่อสาขา ภายในปี 2573

แนวทางการบริหารจัดการ

         บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมการลดการใช้กระดาษขนาด A4 โดยเริ่มจากการเปลี่ยนรูปแบบของใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี จากการใช้กระดาษขนาด A4 มาเป็นกระดาษ A5 นอกจากนี้ในการทำงานของส่วนสำนักงาน บริษัทฯรณรงค์ให้มีการใช้กระดาษอย่างรู้ค่า โดยกำหนดให้พิมพ์เอกสารตามความจำเป็นเพื่อลดการใช้กระดาษ (Reduce) และให้นำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ (Reused) รวมทั้งปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบไร้กระดาษ (Paperless) ด้วยการพัฒนาโปรแกรมใช้งานภายในองค์กร

ผลการดำเนินงาน 2565

         ปี 2565  ปริมาณกระดาษ A4 ที่ใช้ในการดำเนินงานมีปริมาณลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 9,500 แผ่น หรือคิดเทียบต่อสาขาจำนวน 922 แผ่น

ปริมาณการใช้กระดาษต่อปี256325642565
ปริมาณกระดาษ A4 ที่ใช้ในส่วนสำนักงาน (แผ่น)2,213,0002,536,5002,527,500
จำนวนสาขา717577
อัตราการใช้ต่อสาขา (แผ่น)31,16933,82032,824

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

         บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ซึ่งทั่วโลกได้ให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯได้ให้ความสำคัญในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization ; CFO) โดยเริ่มดำเนินการในปี 2565 เพื่อทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัท พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินกิจกรรมตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 10% จากปีฐาน (ปี2565) ภายในปี 2573

ความเสี่ยงและโอกาส

RisksImpactOpportunity
Physical Risks• ลูกค้าและรายได้ลดลงจากการปิดสาขาชั่วคราว
• ค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้น
• เพิ่มช่องทางขายออนไลน์
• ติดตั้งระบบ ASRS
• ติดตั้ง Solar Rooftop
Low Carbon Policy• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มขึ้นจาก การปฏิบัติตามนโยบายการลดคาร์บอน• เปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานเป็นระบบไฟฟ้า เช่น โฟล์คลิฟต์ไฟฟ้า, EV เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Technology & Marketing• แนวโน้มลูกค้ามีความต้องการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นส่งผล กระทบต่อยอดขายสินค้ากลุ่มเดิม• โอกาสในการทำตลาด ECO Product และสร้างนวัตกรรมบริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Reputation Risk• ความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทอาจส่งผล กระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์• โอกาสให้การสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้ธุรกิจและสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์

แนวทางการบริหารจัดการ

         บริษัทฯดำเนินธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน มีการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้บริการลูกค้า บริษัทฯให้ความสำคัญกับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรง(Scope1) และทางอ้อม(Scope2) โดยใช้นโยบายการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ เป็นประเภทไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และนโยบายการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง รวมถึงมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยลดการใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือ 58% ของกิจกรรมทั้งหมด 

ในปี 2565 บริษัทฯได้เริ่มประเมินคาร์บอนฟุตพิ้นท์ขององค์กร หรือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆของบริษัท  เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง ซึ่งแสดงผลในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ทำให้ทราบจุดที่มีนัยสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทและจะนำไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในดังนี้

ขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประเภท 1ประเภท 2ประเภท 3
• ปริมาณน้ำมันแก๊สโซลีน / ดีเซลสำหรับรถผู้บริหาร
• ปริมาณน้ำมันดีเซลรถจัดส่งสินค้า
• ปริมาณน้ำมันเบนซิลรถตัดหญ้า
• ปริมาณ LPG / ดีเซล / เบนซินสำหรับรถ Forklift
• ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลของ Generator / Fire pump
• ปริมาณการใช้สารดับเพลิง CO2
• ปริมาณสารทำความเย็นชนิด R32 / R410A / R407C / R134A / R404A / R401A
• ปริมาณการเกิดมีเทนจาก Septic tank
• ปริมาณมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบ activated sludge
• ปริมาณการใช้ไฟฟ้า• ปริมาณการซื้อกระดาษ ขนาด A4 70 แกรม / A5
• ปริมาณการซื้อถุงหูหิ้ว (LDPE)
• น้ำประปาส่วนภูมิภาค / การประปานครหลวง
• การได้มาน้ำมันแก๊สโซลีน / เบนซิน / ดีเซล / LPG / ไฟฟ้า
• การขนส่งวัตถุดิบ (กระดาษ ถุงหูหิ้ว)
• การจัดการขยะแบบฝังกลบ
• การเดินทางของพนักงานมายังที่ทำงาน
• การกำจัดซากผลิตภัณฑ์ (กระดาษพิมพ์ใบกำกับภาษี (A5) ถุงหูหิ้ว กระดาษ)
• ปริมาณการใช้ไฟฟ้าผู้เช่า

รายละเอียดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (Carbon Footprint for Organization : CFO) *

         * หมายเหตุ :  บริษัทฯ ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรโดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565 และได้ผ่านการทวนสอบโดย “ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นผู้ทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

1. การใช้รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) และรถยกไฟฟ้า (Electric Stacker)

         ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา บริษัทฯ มีนโยบายใช้รถโฟล์คลิฟท์กับสาขาที่เปิดดำเนินการใหม่ และทดแทนรถโฟล์คลิฟท์ระบบเชื้อเพลิงของสาขาเดิมที่ครบอายุการใช้งานแล้ว ด้วยความตระหนักว่าการใช้รถโฟล์คลิฟท์ แม้จะอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน แต่การเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สร้างมลภาวะทางอากาศซึ่งการทำงานของรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า และรถยกไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2. โครงการติดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger Station)

         บริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า ในบริเวณพื้นที่ให้บริการของสาขา เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท โดยสิ้นปี 2565 มีจำนวนสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 12 สาขา

3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยระบบดิจิทัล (Digital Lucky Draw)

         ปี 2565 บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย “ใช้ร้อยชิงล้าน” ซีซั่น 9 เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งสามารถลดการใช้กระดาษขนาด A5 เพื่อใช้พิมพ์คูปองชิงโชคได้มากถึง 17,963,606 ใบ และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขนส่งคูปองชิงโชคจากทุกสาขามายังสำนักงานใหญ่ อีกทั้งได้ปรับเปลี่ยนประเภทของรางวัลเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จำนวน 9 คัน แทนการมอบรถยนต์ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • ให้ความรู้และฝึกอบรมพนักงานในเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงประชาสัมพันธ์วิธีการลดใช้พลังงานในสำนักงานผ่านสื่อภายในองค์กร เช่น ป้ายรณรงค์ประหยัดพลังงาน บอร์ดประชาสัมพันธ์ อินทราเน็ต ฯลฯ
  • ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานร่วมกันลดใช้พลังงาน เช่น การประหยัดไฟฟ้า การประหยัดน้ำ รวมถึงหมั่นตรวจสอบท่อน้ำ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
  • รณรงค์ให้ผู้บริหารและพนักงาน ปิดเครื่องปรับอากาศ และปิดไฟในช่วงเวลาพักหรือช่วงเวลาไม่ได้อยู่ในห้องทำงานเป็นเวลานาน

บรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

         บริษัทมีสินค้ากว่า 10,000 รายการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท หรือ เรียกว่าสินค้า House Brand โดยมีแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ซึ่งกำหนดให้บรรจุภัณฑ์ของสินค้าHouse Brand จะต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือ สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปี 2565 บริษัทมีปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ของสินค้า House brand แยกตามประเภทบรรจุภัณฑ์ ดังนี้

บรรจุภัณฑ์พลาสติก

บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด(ตัน)บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล(ร้อยละของน้ำ หนักรวม)บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้(ร้อยละของน้ำ หนักรวม)บรรจุภัณฑ์ที่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ(ร้อยละของน้ำ หนักรวม)การครอบคลุมของข้อมูล (ร้อยละของต้นทุนสินค้าที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทฯ)เป้าหมายปี 2565 (ตัน)
959.484.873.000.77100900

บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติก

ประเภทบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติกแยกตามประเภท(ตัน)ปริมาณน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ทั้งหมด(ตัน)บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่และหรือได้รับการรับรอง (ร้อยละของน้ำ หนักรวม)การครอบคลุมของข้อมูล (ร้อยละของต้นทุนสินค้า* (House Brand)เป้าหมายปี 2565 (ร้อยละ)
ไม้/กระดาษ13,238.4870.7210070%
โลหะ(เหล็ก อลูมิเนียม)77.76-100-
แก้ว---