การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติของคู่ค้า
บริษัทฯ ได้กำหนดจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติของคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้า และผู้ผลิต มีแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามแนวทางการบริหารของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทบทวนและปรับปรุง และแนวทางปฏิบัติของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมประเด็นสิทธิมนุษยชนและแรงงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมาย
เกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้า
การจัดหาเป็นกระบวนการสำคัญเพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายและคุณภาพสินค้าและบริการ ที่บริษัทฯ จะนำมาใช้ในการดำเนินกิจการ จึงจำเป็นต้องมีขั้นตอนดำเนินการที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท ด้วยความเป็นธรรม สมเหตุสมผล โปร่งใส สามารถตรวจสอบและอธิบายได้ นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับคู่ค้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน และเสริมสร้าง สัมพันธภาพในการทำงานที่ดีกับคู่ค้าบนพื้นฐานของการให้เกียรติและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกคู่ค้าที่เหมาะสม โดยจะต้องมั่นใจว่ากระบวนการคัดเลือกและการปฏิบัติต่อคู่ค้าเป็นไปอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งสนับสนุนการทำธุรกิจ กับคู่ค้า บริษัทผู้ผลิต และผู้รับเหมา (“คู่ค้า”) ที่ดำเนินการอย่างเป็นธรรม ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกที่ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม (ESG) ดังนี้
- มีประวัติทางการเงินที่เชื่อถือได้และมีศักยภาพ ที่จะเติบโตไปพร้อมกับบริษัทฯได้ในระยะยาว
- มีกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามข้อกำหนดตามกฎหมาย อาทิ การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การไม่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบคุณภาพได้
- สามารถจัดส่งสินค้าได้ในปริมาณและเวลาตามที่ตกลง
- ให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมการขายและการให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า
- การให้ความร่วมมือกับบริษัทฯในเรื่องตัวอย่างสินค้า ใบเสนอราคา หรือ ข้อมูลอื่นๆ เช่น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) ซึ่งครอบคลุมถึงจริยธรรมทางธุรกิจ แรงงานและสิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และ กฎหมายและข้อกำหนด
การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า
บริษัทฯ มีการวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขายของคู่ค้า โดยพิจารณาจากข้อมูลที่จำเป็น เช่น จำนวนคู่ค้า กลุ่มสินค้าที่สั่งซื้อมูลค่าการสั่งซื้อและแหล่งที่อยู่ของคู่ค้าเพื่อนำไปวิเคราะห์กระบวนการทำงานและบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน
เป้าหมายการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ข้อมูลการซื้อของคู่ค้า
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการจัดกลุ่มคู่ค้าที่สำคัญ การระบุประเภทของคู่ค้าสำคัญ Critical Tier 1 และ คู่ค้าสำคัญลำดับถัดไป Critical Non-Tier 1 โดยบริษัทฯมีเกณฑ์การคัดเลือกจาก ยอดซื้อและคู่ค้าที่หาสินค้าอื่นมาทดแทนได้ยาก เพื่อระบุว่าคู่ค้ารายใดเป็นคู่ค้ารายสำคัญของบริษัท และเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้า
- คู่ค้าหลัก (SIGNIFICANT SUPPLIER) หมายถึง คู่ค้าที่มียอดซื้อสูง สินค้าทดแทนยาก โดยจะถือว่าคู่ค้าเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่ม HIGH RISK TIER 1 SUPPLIER จะต้องผ่านการประเมินคู่ค้า (SUPPLIER EVALUATION) ทุกปี
- คู่ค้ารอง (NON-SIGNIFICANT SUPPLIER) หมายถึง คู่ค้าที่มียอดซื้อ
- ปานกลางหรือต่ำ และความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง หรือต่ำ ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม HIGH RISK TIER 1 SUPPLIER
รายละเอียดเกี่ยวกับคู่ค้าหลัก
มาตรการดำเนินการ กรณีคู่ค้าไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด
- เจรจาแก้ไขปัญหาโดยมีการกำหนดขอบเขตปัญหาและระยะเวลาที่ชัดเจน
- การตักเตือนด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร
- การบอกเลิกสัญญาการค้า
- การเรียกร้องค่าเสียหาย
การกำกับดูแลและการตรวจประเมินคู่ค้า
บริษัทฯ ได้จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติของคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้านำไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ และได้จัดให้มีการประเมินตนเองด้านความยั่งยืนของคู่ค้า โดยแบบประเมินได้ครอบคลุมประเด็นที่ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล(Environment, Social, Governance: ESG) โดยให้คู่ค้าทำการประเมินตนเองผ่านระบบ GLOBAL SOFT เป็นประจำทุกปี รวมถึงได้กำหนดให้ฝ่ายจัดซื้อต้องดำเนินการตรวจเยี่ยมคู่ค้า ณ สถานประกอบการ (ON SITE AUDIT) เป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจสอบคุณภาพและการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ค้า
บริษัทฯ มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า และผลกระทบที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ภายใต้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงที่บริษัทได้กำหนดไว้ ได้แก่ ระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ในประเด็นต่าง ๆ ด้านความยั่งยืนทั้งในมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมประเด็นจริยธรรมทางธุรกิจ การปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่อาจเกิดจากคู่ค้า
1. การระบุความเสี่ยงและประเภทความเสี่ยง
การระบุความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการพึ่งพิงคู่ค้า (Suppliers) ของบริษัท คุณภาพของสินค้าหรือการบริการจากคู่ค้า และปริมาณสินค้าที่อาจไม่เพียงพอต่อการสั่งซื้อ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
2. เกณฑ์ในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง
เกณฑ์ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง พิจารณาเงื่อนไขในการประเมินความเสี่ยง 2 มิติ คือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) เพื่อกำหนดระดับความเสี่ยง (Risk Level)
- โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงขึ้น โดยการพิจารณาจากสถิติการเกิดเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน หรือ การคาดการณ์ล่วงหน้า โดยมีระดับคะแนน ดังนี้
- ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หรือ ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากผลสืบเนื่องของเหตุการณ์ความเสี่ยง ทั้งนี้ พิจารณาระดับความรุนแรงจากมูลค่าความเสียหายของเหตุการณ์ความเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับ โดยมีระดับคะแนน ดังนี้
- ระดับความเสี่ยง (Risk Level) กำหนดค่าเท่ากับผลคูณของระดับโอกาสที่เหตุการณ์ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้น(Likelihood) และระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความเสี่ยง โดยระดับความเสี่ยงแบ่งตามความสำคัญเป็น 4 ระดับ ดังนี้
3. เมทริกซ์ระดับความเสี่ยง
โดยการนำความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากคู่ค้า มาทำการหาค่าความเสี่ยงรวม ซึ่งได้จากการนำ ระดับโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) คูณระดับผลกระทบ (Impact)
แผนภูมิแสดงความเสี่ยง (Risk Matrix)
การประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากคู่ค้าประจำปี 2566
ผลการดำเนินงานในปี 2566
- การประเมินตนเองด้าน ESG ของคู่ค้า แบบ Desk Assessment
บริษัทได้จัดทำแบบประเมินตนเองด้านความยั่งยืนของคู่ค้า (ESG Risk) แบบ Desk Assessment โดยกำหนดให้คู่ค้าภายในประเทศต้องทำแบบประเมินผ่านระบบGLOBAL SOFT โดยปี 2566 มีคู่ค้าในประเทศจำนวน 491 ราย ได้ตอบแบบประเมินตนเองจากคู่ค้าในประเทศทั้งหมด 682 ราย หรือ คิดเป็น 71.99% โดยผลจากการประเมินความเสี่ยง พบว่าคู่ค้าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนอยู่ในระดับ “ต่ำ” หรือ สรุปได้ว่า “ไม่มีความเสี่ยงด้าน ESG ที่เกิดจากคู่ค้า” ทั้งนี้หากผลการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้ามีประเด็นที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก บริษัทจะมีมาตรการการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ - การตรวจประเมินคู่ค้า แบบ On-Site Assessment
จากผลการประเมินตนเองด้านความยั่งยืนของคู่ค้า บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตามและประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ภาคสนาม (ON SITE ESG AUDIT) โดยเป็นการลงพื้นที่ตรวจประเมินยังสถานประกอบการของคู่ค้า เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนรวมถึงข้อกำหนดตามจรรยาบรรณของคู่ค้าและแนวปฏิบัติของคู่ค้า (SUPPLIER CODE OF CONDUCT) โดยในปี 2566 ได้เข้าตรวจกลุ่มคู่ค้า จำนวน 5 ราย พบว่าคู่ค้าทั้ง 5 ราย มีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงไม่พบการปฏิบัติงานที่ฝ่าฝืนจรรยาบรรณของคู่ค้าและแนวปฏิบัติของคู่ค้า
นโยบายการกำหนดเวลาการให้สินเชื่อทางการค้า (Credit Term)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสภาพคล่องและการบริหารการจัดการเงินสด โดยทำการกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนระยะเวลา Credit Term สำหรับคู่ค้า ภายในระยะเวลา 7 – 180 วัน ซึ่งทำการพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ ยอดการซื้อขายสินค้าร่วมกัน คุณภาพของสินค้าเป็นต้น
สำหรับข้อมูลระยะเวลาการให้ Credit Term ของบริษัทฯ ตามระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริง มีรายละเอียด ดังนี้
การพัฒนาคู่ค้า
ตั้งแต่ปี 2553 ทางบริษัทฯ ได้นำระบบ VMI (Vendor Managed Inventory) ซึ่งเป็นระบบให้คู่ค้าบริหารจัดการสินค้าด้วยตนเอง มาใช้ร่วมกับคู่ค้าในการเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าของคู่ค้า โดยอาศัยการที่คู่ค้าเป็นผู้บริหารสินค้าคงคลังให้แก่ทางบริษัท หลักการสำคัญของการทำ VMI คือ การให้คู่ค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลยอดขายจริงของทางบริษัทและปริมาณสินค้าคงคลังเป็นรายสาขา ซึ่งจะทำให้คู่ค้าสามารถวางแผนการผลิตการจัดส่งสินค้าและการส่งเสริมการขายของทางคู่ค้าเองได้อย่างละเอียดแม่นยำและตรงต่อความต้องการในแต่ละพื้นที่ ซึ่งความต้องการอาจแตกต่างกันไปและให้อำนาจแก่คู่ค้าในการเป็นผู้ออกคำสั่งซื้อและดำเนินการเติมสินค้าให้แก่ทางบริษัท ทั้งนี้การทำ VMI จะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าของคู่ค้าและเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานของทั้งคู่ค้าและทางบริษัท และยังคงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าปลายน้ำได้อย่างต่อเนื่อง
การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement)
บริษัทตระหนักดีว่าการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมอย่างหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัท เนื่องจากการจัดซื้อเป็นกระบวนการสำคัญของทุกธุรกิจที่มีบทบาทอย่างมากในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯได้สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว โดยมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัท รวมถึงการสรรหาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงาน
1. การจัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การจัดซื้อรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) ให้กับสาขาที่เปิดใหม่ แทนรถโฟล์คลิฟท์ประเภทแก๊สและน้ำมัน และทดแทนรถโฟล์คลิฟท์ของสาขาเดิมที่ครบอายุการใช้งานแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ปี2563 เป็นต้นมา โดยการทำงานของรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านเสียง กลิ่น และมลพิษทางอากาศ
- การจัดซื้อรถยกไฟฟ้า (Electric Stacker) เพื่อใช้โยกย้ายสินค้าภายในพื้นที่ขายปลีกของทุกสาขา
- รถยนต์ระบบไฮบริด บริษัทมีนโยบายจัดซื้อรถยนต์ระบบไฮบริดสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐาน
2. การสรรหาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนและตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยบริษัทได้จัดเป็นกลุ่มสินค้าESG ซึ่งประกอบด้วยสินค้ากลุ่มประหยัดพลังงาน กลุ่มลดโลกร้อน กลุ่มประหยัดทรัพยากรธธรมชาติ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มสินค้าเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ และกลุ่มสินค้าเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตใหม่
การอบรมพัฒนาศักยภาพของพนักงานจัดซื้อจัดหา
บริษัทฯ จัดให้มีการอบรมพัฒนาศักยภาพของพนักงานจัดซื้อจัดหาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการทำงานของพนักงาน ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสื่อสารนโยบาย จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติของคู่ค้า หลักเกณฑ์ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และการประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ และเหมาะสม สามารถดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วโดยใช้องค์ความรู้ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ