การจัดการก๊าซเรือนกระจก

ความมุ่งมั่น

          บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ซึ่งทั่วโลกได้ให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้บริษัทฯได้ให้ความสำคัญในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร(Carbon Footprint for Organization; CFO) โดยเริ่มดำเนินการในปี 2565 เพื่อทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัท พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินกิจกรรมตามมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ความเสี่ยงและโอกาส

RisksImpactOpportunity
Physical Risks• ลูกค้าและรายได้ลดลงจากการปิดสาขาชั่วคราว
• ค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้น
• เพิ่มช่องทางขายออนไลน์
• ติดตั้งระบบ ASRS
• ติดตั้ง Solar Rooftop
Low Carbon Policy• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มขึ้นจากการปฏิบัติตามนโยบายการลดคาร์บอน• เปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานเป็นระบบไฟฟ้า เช่น โฟล์คลิฟต์ไฟฟ้า, EV เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Technology & Marketing• แนวโน้มลูกค้ามีความต้องการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้ากลุ่มเดิม• โอกาสในการทำตลาด ECO Product และสร้างนวัตกรรมบริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Reputation Risk• ความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์• โอกาสให้การสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้ธุรกิจและสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์

แนวทางการบริหารจัดการ

          บริษัทฯดำเนินธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน มีการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้บริการลูกค้า บริษัทฯให้ความสำคัญกับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรง(Scope1) และทางอ้อม(Scope2) โดยใช้นโยบายการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ เป็นประเภทไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และนโยบายการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง รวมถึงมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยลดการใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือ 58% ของกิจกรรมทั้งหมด

          ในปี 2565 บริษัทฯได้เริ่มประเมินคาร์บอนฟุตพริ๊นท์ขององค์กร หรือปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆของบริษัท เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง ซึ่งแสดงผลในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Ton CO2e) ทำให้ทราบจุดที่มีนัยสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทและจะนำไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขอบเขตและผลการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในดังนี้

ขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประเภท 1ประเภท 2ประเภท 3
• ปริมาณน้ำมันแก๊สโซลีน / ดีเซลสำหรับรถผู้บริหาร
• ปริมาณน้ำมันดีเซลรถจัดส่งสินค้า
• ปริมาณน้ำมันเบนซิลรถตัดหญ้า
• ปริมาณ LPG / ดีเซล / เบนซินสำหรับรถ Forklift
• ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลของ Generator / Fire pump
• ปริมาณการใช้สารดับเพลิง CO2
• ปริมาณสารทำความเย็นชนิด R32 / R410A / R407C / R134A / R404A / R401A
• ปริมาณการเกิดมีเทนจาก Septic tank
• ปริมาณมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบ activated sludge
• ปริมาณการใช้ไฟฟ้า• ปริมาณการซื้อกระดาษ ขนาด A4 70 แกรม / A5
• ปริมาณการซื้อถุงหูหิ้ว (LDPE)
• น้ำประปาส่วนภูมิภาค / การประปานครหลวง
• การได้มาน้ำมันแก๊สโซลีน / เบนซิน / ดีเซล / LPG / ไฟฟ้า
• การขนส่งวัตถุดิบ (กระดาษ ถุงหูหิ้ว)
• การจัดการขยะแบบฝังกลบ
• การเดินทางของพนักงานมายังที่ทำงาน
• การกำจัดซากผลิตภัณฑ์ (กระดาษพิมพ์ใบกำกับภาษี (A5) ถุงหูหิ้ว กระดาษ)
• ปริมาณการใช้ไฟฟ้าผู้เช่า

รายละเอียดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ปี 2566 (Carbon Footprint for Organization : CFO)

          หมายเหตุ : บริษัทฯ ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรโดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2566 และได้ผ่านการทวนสอบโดย “ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นผู้ทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

การใช้รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) และรถยกไฟฟ้า (Electric Stacker)

          เนื่องจากกิจกรรมดำเนินงานของสาขาในแต่ละวัน ต้องมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดแรงงาน โดยพื้นที่บริเวณขายสินค้าประเภทตกแต่งบ้าน บริษัทฯ กำหนดให้ใช้รถยกไฟฟ้า และพื้นที่ขายสินค้าประเภทก่อสร้างกำหนดให้ใช้รถโฟล์คลิฟท์ในการปฏิบัติงาน

          ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา บริษัทฯ มีนโยบายใช้รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้ากับสาขาที่เปิดดำเนินการใหม่ และทดแทนรถโฟล์คลิฟท์ระบบเชื้อเพลิงของสาขาเดิมที่ครบอายุการใช้งานแล้ว ด้วยความตระหนักว่าการใช้รถโฟล์คลิฟท์ แม้จะอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน แต่การเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สร้างมลภาวะทางอากาศซึ่งการทำงานของรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า และรถยกไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการติดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger Station)

          บริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า ในบริเวณพื้นที่ให้บริการของสาขา เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท โดยสิ้นปี 2566 มีจำนวนสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 12 สาขา

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยระบบดิจิทัล (Digital Lucky Draw)

          ในปี 2565-2566 บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย“ใช้ร้อยชิงล้าน”ซีซั่น9 เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งสามารถลดการใช้กระดาษขนาดA5 เพื่อพิมพ์คูปองชิงโชคได้มากถึง 28,687,572 ใบ และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อขนส่งคูปองชิงโชคจากทุกสาขามายังสำนักงานใหญ่ อีกทั้งได้ปรับเปลี่ยนประเภทของรางวัลเป็นรถยนต์ไฟฟ้า(EV) จำนวน 9 คัน แทนการมอบรถยนต์ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

กิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

  • ให้ความรู้และฝึกอบรมพนักงานในเรื่องสิ่งแวดล้อมรวมถึงประชาสัมพันธ์วิธีการลดใช้พลังงานในสำนักงานผ่านสื่อภายในองค์กร เช่น ป้ายรณรงค์ประหยัดพลังงาน บอร์ดประชาสัมพันธ์ อินทราเน็ต ฯลฯ
  • ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานร่วมกันลดใช้พลังงาน เช่น การประหยัดไฟฟ้า การประหยัดน้ำ รวมถึงหมั่นตรวจสอบท่อน้ำและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
  • รณรงค์ให้ผู้บริหารและพนักงาน ปิดเครื่องปรับอากาศและปิดไฟในช่วงเวลาพักหรือช่วงเวลาไม่ได้อยู่ในห้องทำงานเป็นเวลานาน