การบริหารทรัพยากรบุคคล

ทรัพยากรบุคคลเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จตลอดจนสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยกำหนดกลยุทธ์ด้านบุคลากรตั้งแต่การสรรหาพนักงาน การพัฒนาพนักงาน และการรักษาพนักงานพร้อมกับสนับสนุนให้พนักงานได้รับโอกาสเติบโต มีความก้าวหน้าในอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ และศาสนา มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และความสามารถ ตลอดจนส่งเสริมให้พนักงานเป็นคนดี มีจิตอาสา ทำประโยชน์เพื่อสังคมและส่วนรวม ตามนโยบายการบริหารบุคคลของบริษัทฯ “GBH Smart People”

แนวทางการบริหารจัดการ

สรุปผลการดำเนินงาน ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ปี 2566

1. การสรรหาพนักงาน


เสรีภาพในการสมาคม

บริษัทฯ ส่งเสริมและให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการรวมกลุ่มของพนักงาน รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการและช่องทางการรับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น ตู้แดง (Voice of employee), ระบบ Call Center, ศูนย์รับข้อร้องเรียนด้านต่างๆ โดยรวมถึงการเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น ผ่านคณะกรรมการสวัสดิการ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการมีส่วนร่วมของพนักงาน

บริษัทฯ ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการรวมกลุ่มและมีอำนาจในการต่อรองร่วมกันในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของพนักงานในการร่วมปรึกษาหารือ เสนอแนะ ตรวจสอบ ดูแลการจัดสวัสดิการ รวมทั้งการบริหารจัดการข้อเสนอแนะและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

        คณะกรรมการสวัสดิการจะได้รับการสรรหาและคัดเลือก โดยการเลือกตั้งจากพนักงานในแต่ละพื้นที่สาขา ครอบคลุมพนักงาน ร้อยละ 100 เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนพนักงาน ซึ่งกรรมการสวัสดิการที่ได้รับการเลือกตั้งจะมีวาระดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 2 ปี และจัดประชุมร่วมกับผู้บริหารสาขาและบริษัท อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

        ปัจจุบันคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทครอบคลุมรวมทุกพื้นที่สาขา มีจำนวนทั้งหมด 83 คณะ และมีกรรมการสวัสดิการจำนวนรวมทั้งหมด 504 คน โดยคณะกรรมการสวัสดิการในแต่ละพื้นที่สาขาจะดำเนินการจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือ เสนอแนะแนวทางดำเนินการปรับปรุงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการและสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีให้กับพนักงาน อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน

        ในปี 2566 มีประเด็นข้อเสนอแนะที่ได้รับการอนุมัติดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้

  • ด้านสวัสดิการพนักงาน จำนวน 168 เรื่อง
  • ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน 103 เรื่อง
  • ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์การทำงาน จำนวน 17 เรื่อง
  • ด้านกิจกรรมพนักงาน จำนวน 132 เรื่อง

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

บริษัทฯ มุ่งมั่นให้พนักงานสามารถรักษาสมดุลในการทำงานและชีวิตส่วนตัว สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่าง จึงได้กำหนดให้มีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ช่วยให้พนักงานสามารถปรับตารางการทำงานให้เข้ากับความต้องการส่วนตัว โดยพนักงานสามารถเลือกเวลาการทำงานให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิต ตามช่วงเวลาที่บริษัทกำหนด และสามารถเลือกเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานได้ทุกๆ 15 วัน โดยมีรายละเอียดช่วงเวลาทำงานแบ่งเป็น 6 ช่วงเวลา ดังนี้ 07.30-16.30 น.  08.30-17.30 น. 08.00-17.00 น. 10.00-19.00 น. 11.00-20.00 น.

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยึดมั่นในการเคารพสิทธิแรงงานของพนักงาน และการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น การจ้างงาน ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุดและสวัสดิการ รวมถึงสถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดี บริษัทฯ ได้กำหนดสวัสดิการสำหรับพนักงาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ทั้งนี้บริษัทฯ ยังได้จัดสรรสวัสดิการที่หลากหลายให้กับพนักงาน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีระหว่างการทำงานร่วมกับบริษัท เช่น วันลาหยุดแต่ได้รับค่าจ้างสำหรับพนักงานชายเพื่อดูแลบุตรที่คลอดใหม่และดูแลคนในครอบครัว สวัสดิการเงินกู้ พื้นที่คลายเครียด มุมให้นมบุตร เป็นต้น ตลอดจนสวัสดิการด้านความมั่นคงของชีวิต เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิต เงินช่วยเหลือกรณีประสบภัย

2. การฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงาน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนาพนักงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีการคัดเลือกเนื้อหาของหลักสูตรให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ และสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในขณะนั้น

2.1 โปรแกรมการพัฒนาและเพิ่มศักภาพการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารสาขา

บริษัทฯ มุ่งพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของทีมงานผู้บริหารสาขา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบริหารงานสาขา ทั้งด้านการขายและการบริการ รวมทั้งทีมงานบุคคลกรในแต่ละสาขาให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของบริษัท โดยได้กำหนดแผนพัฒนาไว้ดังนี้

2.2 โปรแกรมการพัฒนาผู้จัดการฝึกหัดรุ่นใหม่

บริษัทฯ ส่งเสริมและสร้างโอกาสให้พนักงานทั้งที่จบใหม่ และที่มีประสบการณ์ ซึ่งมีความพร้อมในการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและพัฒนาตัวเองในสายงานธุรกิจค้าปลีก เพื่อเพิ่มศักยภาพและเตรียมความพร้อมในการเติบโตในสายอาชีพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของทีมบริหารงานสาขาในอนาคต

โครงการผู้จัดการฝึกหัด
  • เริ่มโครงการตั้งแต่ ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน
  • ปัจจุบันมีจำนวน 8 รุ่น ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดรวม 58
  • โดยปัจจุบันเติบโตในสายงาน ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสาขาและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 19 คน


2.3 โครงการความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา

บริษัทฯ ได้ขยายความร่วมมือและการพัฒนาไปยังสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เกี่ยวกับการร่วมผลิตบัณฑิตและการเรียนการสอนหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative Work Integrated Education : CWIE) โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์การทำงานในสภาพจริงขององค์กร เพื่อพัฒนาคุณลักษณะและทักษะของนักศึกษา ให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและร่วมผลิตบัณฑิตกว่า 10 แห่ง 7 สาขาวิชา และมีนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมฝึกประสบการณ์และเรียนรู้จากการทำงานจริงกว่า 150 คน
ทั้งนี้บริษัทฯ ยังได้ร่วมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในการทำงานจริงของภาคธุรกิจในยุคปัจจุบัน ให้กับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน อาทิเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เพื่อร่วมพัฒนาทักษะบัณฑิตสาขาต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจในอนาคต

3. การรักษาพนักงาน

3.1 ค่าตอบแทนและสวัสดิการ
  • การมอบรางวัลเหรียญทองคำเพื่อเป็นการขอบคุณพนักงานที่ร่วมกันขับเคลื่อนบริษัทให้เจริญเติบโตและก้าวหน้ามากกว่า 26 ปี โดยในปี 2566 มีพนักงานที่ได้รับมอบเหรียญทองคำพร้อมเกียรติบัตร ดังนี้

**พนักงานที่มีสิทธิได้รับรางวัล จะต้องมีสถานะเป็นพนักงานของบริษัทฯ ณ วันที่รับรางวัลเท่านั้นและนับอายุงานตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานกับบริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

  • การปรับขึ้นเงินเดือนตามพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำของภาครัฐ เพื่อให้สอดคล้องตามกฎหมาย เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมภายในองค์กร รวมทั้งสร้างความสามารถในการแข่งขันกับตลาดแรงงานภายนอกได้
3.2 สิทธิประโยชน์อื่น ๆ

นอกจากการมอบค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นธรรมให้กับพนักงานแล้ว บริษัทฯ พบว่าพนักงานส่วนหนึ่งประสบกับปัญหาหนี้สิน หรือปัญหาทางการเงิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความเครียดให้พนักงานส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี และอาจลดประสิทธิภาพในการทำงานได้ ด้วยความห่วงใยและมุ่งหวังให้พนักงานทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง บริษัทฯ ได้จัดหาสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านการเงิน ลดภาระหนี้สินให้กับพนักงาน รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ในการจัดให้มีโครงการสินเชื่อสวัสดิการบุคลากรกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมีพนักงานเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 78 คน

4. การประเมินผลและความผูกพันของพนักงาน

4.1 การประเมินผลการปฏิบัติงาน

บริษัทฯ กำหนดและจัดทำนโยบายการประเมินผลการปฏิบัติงาน หลักเกณฑ์การประเมิน รวมถึงการนำผลการประเมินไปใช้พิจารณาผลตอบแทน และดำนเนการในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยบริษัทฯ ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยมาตรฐานเดียวกัน เป็นประจำทุกไตรมาส ผ่านระบบ HR Management เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม ซึ่งจะยึดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงาน (Management by objectives) เป็นรูปแบบการประเมินมาตรฐาน และเพิ่มเติมการประเมินมิติด้านอื่น ๆ สำหรับกลุ่มงานที่มีลักษณะแตกต่างกัน

4.2 ความผูกพันของพนักงาน

บริษัทฯ ได้มีการสำรวจความผูกพันพนักงานต่อองค์กร (Employee Engagement Survey) เพื่อเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงาน โดยบริษัทฯ ได้นำข้อมูลและผลการสำรวจมาวิเคราะห์และวางแผนดำเนินการปรับปรุงประเด็นที่เกี่ยวข้องและสื่อสารให้พนักงานทั่วทั้งองค์กรได้ทราบ เพื่อยกระดับความพึงพอใจและความผูกพันกับองค์กรของพนักงานให้สูงขึ้น ทำให้ในปี 2566 ผลการสำรวจความผูกพันของพนักงานต่องค์กรมีผลคะแนนเท่ากับ 92.93% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และสูงกว่าปี 2565 จำนวน 2.72% โดยการสำรวจในครั้งนี้มีพนักงานที่เข้าร่วมทำแบบสำรวจจำนวน 10,223 คน คิดเป็น 94.04% จากจำนวนพนักงานทั้งหมด โดยผลตอบแบบสำรวจพบว่าปัจจัยสำคัญในการทำงานของพนักงาน 3 ลำดับแรก ยังคงมีปัจจัยเช่นเดียวกับในปี 2565 ได้แก่ บริษัทใหญ่มีความมั่งคง, ทำงานใกล้บ้าน มีเวลาให้ครอบครัว และ รายได้ผลตอบแทนและสวัสดิการดี นอกจากปัจจัยสำคัญข้างต้นยังพบว่ามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบริษัทที่จะนำข้อมูลไปพิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมกับพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

การลาออกของพนักงาน : อัตราพนักงานลาออกโดยสมัครใจ (% ของพนักงานทั้งหมด)

อัตราพนักงานลาออกโดยสมัครใจ

Scroll to Top