การพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ
Smart Products & Services
“มุ่งมั่นสรรหาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านบริการ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม”
การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ ผลักดันให้การกำกับการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานปกติและยึดถือปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร และเพื่อส่งเสริมให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ได้สื่อสารผ่านการอบรมพนักงานใหม่ ช่องทางการสื่อสารภายใน “Share Point” และหน้าเว็บไซต์ของบริษัทฯ
โครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการ บริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2565
บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) ในระดับ “ดีเลิส (5 ดาว)” จากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2565 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
การดำเนินงานและผลการดำเนินงานที่สำคัญในปี 66
การดำเนินงานที่สำคัญในปี 2566 | ผลการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2566 |
---|---|
1. อนุมัติเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล โดยกำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการด้านบรรษัทภิบาลประกอบด้วยกรรมการอิสระมากกว่าร้อยละ 50 เพื่อการพัฒนาและยกระดับงานด้านความยั่งยืนของบริษัท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2566 | 1. การเข้าร่วมโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2566 (Corporate Governance Report : CGR ) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับผลการประเมินอยู่ในระดับ “ดีเลิศ” หรือ 5 ดาว ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 |
2. จัดอบรมหลักสูตรจริยธรรมทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานให้กับพนักงาน | 2. การประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 โดยได้รับการประเมินผล 100 คะแนนเต็ม อยู่ในเกณฑ์ “ดีเยี่ยมสมควรเป็นตัวอย่าง” ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมมาภิบาลที่คำนึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายรักษาผลการประเมินการจัดประชุมผู้ถือหุ้นในระดับ “ดีเยี่ยมสมควรเป็นตัวอย่าง” ตลอดไป |
3. ร้อยละ 46.00 พนักงานทุกระดับได้รับการอบรมหลักสูตรจริยธรรมทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน | |
4. บริษัทฯ ไม่มีข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทในเรื่องจรรยาบรรณธุรกิจ |
โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท
บริษัทฯ มีคณะกรรมการบริษัทจำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้บริทารจำนวน 2 ท่าน กรรมการที่เป็นอิสระจำนวน 4 ท่าน และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน 8 ท่าน
การดำรงตำแหน่งเฉลี่ยของคณะกรรมการ
จำนวนและรายชื่อคณะกรรมการ | ตำแหน่ง | วันที่เข้าดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ | จำนวนปี (วันเข้าดำรงตำแหน่งถึง 31 ธ.ค. 2566) | |
---|---|---|---|---|
1 | นาย อภิสิทธิ์ รุจิเกียรติกำจร | ประธานกรรมการบริษัท / กรรมการที่มีอำนาจลงนามแทนบริษัท | 26 ก.พ. 2551 | 15 |
2 | นาย วิทูร สุริยวนากุล | กรรมการบริษัท / กรรมการบริหาร / กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / กรรมการที่มีอำนาจลงนามแทนบริษัท | 4 เม.ย. 2551 – มี.ค. 2559 & 10 พ.ค. 2560 | 14 |
3 | นาย เกรียงไกร สุริยวนากุล | กรรมการบริษัท / กรรมการบริหาร /กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล / รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / กรรมการที่มีอำนาจลงนามแทนบริษัท | 30 ต.ค. 2564 | 2 |
4 | นาย นิธิ ภัทรโชค | กรรมการบริษัท | 23 พ.ย. 2555 | 12 |
5 | นาย ปรเมศวร์ นิสากรเสน | กรรมการบริษัท / กรรมการที่มีอำนาจลงนามแทนบริษัท | 9 พ.ย. 2561 | 5 |
6 | นาย วิโรจน์ รัตนชัยสิทธิ์ | กรรมการบริษัท / กรรมการบริหาร | 23 พ.ย. 2565 | 1 |
7 | นาย ไพโรจน์ เจือประทุม | กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง | 23 เม.ย. 2562 | 4 |
8 | ดร.บุญชัย พิทักษ์ดำรงกิจ | กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล / กรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง | 23 เม.ย. 2562 | 4 |
9 | ดร.วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ | กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง / กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน | 11 พ.ค. 2559 | 7 |
10 | พลตำรวจเอก กวี สุภานันท์ | กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน / กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล | 23 เม.ย. 2562 | 4 |
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเฉลี่ยของคณะกรรมการ (ปี) | 6.70 |
ตารางการเข้าประชุมของคณะกรรมการบริษัท ปี 2566
หมายเหตุ:
1. *กรรมการที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ เนื่องจากภาระกิจด่วน โดยกรรมการที่ไม่เข้าร่วมประชุมได้แจ้งต่อประธานกรรมการทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุมเพื่อแจ้งต่อที่ประชุมแล้ว
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานที่สำคัญของ CEO และผู้บริหาร (Performance and key performance indicators of CEO and executives)
บริษัทประเมินการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหาร เป็นประจำทุกปี โดยใช้ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานครอบคลุมตัวบ่งชี้ ด้านผลตอบแทนทางการเงิน ตัวชี้วัดทางการเงินที่สัมพันธ์กันเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน และตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ทางการเงิน
ทั้งนี้ บริษัทจะประเมินผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับ5-นโยบายหลัก และ5-วัฒนธรรมองค์กร เพื่อการเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัด ดังนี้
ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพองค์กรประจำปี 2566
ประสิทธิภาพ | ตัวชี้วัด |
---|---|
ด้านการเงิน | • รายได้รวม • กำไรสุทธิ • อัตรากำไรขั้นต้น • ตัวชี้วัดทางการเงินอื่นๆ สำหรับผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) • การเติบโตของยอดขายสาขาเดิม |
ด้านการพัฒนาธุรกิจ | • การเปิดสาขาใหม่ และ / หรือ การขยายธุรกิจใหม่ • การปรับปรุงสาขาเดิม |
ด้านลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย | • ความพึงพอใจของลูกค้า • ฐานของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ในแต่ละช่องทางการจำหน่ายสินค้า |
ด้านนวัตกรรม | • การเพิ่มดิจิทัลสโตร์ • รายการสินค้าที่ลูกค้ารับผ่านตู้ Click & Collect |
ด้านความยั่งยืน(ESG) | • ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน • การอยู่ในดัชนีหุ้นยั่งยืน (THIS Index2022) • การพัฒนาผลการประเมิน CSA 2022 • ผลการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน (CGR) |
1. การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่สอบทานความเหมาะสม และประสิทธิภาพของการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่าการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risks)
ความเสี่ยง/ประเด็นความเสี่ยง | ผลกระทบต่อธุรกิจ | มาตรการและแนวทางจัดการ | |
---|---|---|---|
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล | |||
1 | การดำเนินธุรกิจ | • ทำให้การทำธุรกิจสะดวกมากยิ่งขึ้น • บริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้จำหน่ายและลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว • การเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว | • พัฒนาระบบซื้อขายออนไลน์บน Marketplace • การพัฒนาระบบเชื่อมต่อ OR VISA MASTERCARD • พัฒนาแอปพลิเคชัน Click & Collect ในการเชื่อมต่อข้อมูลหน้าร้านและช่องทางออนไลน์ |
ความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ | |||
1 | การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน | • บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกค้า พนักงาน ที่เป็นผู้เสียหาย • บริษัทอาจต้องจ่ายค่าปรับในกรณีของการฝ่าฝืนกฎหมาย (พ.ศ. 2562) • การสูญเสียชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย | • อบรมให้ความรู้แก่พนักงาน • กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน • กำหนดนโยบายและบทลงโทษที่ชัดเจน |
2 | การรั่วไหลข้อมูลสำคัญของบริษัท เช่น ข้อมูลทางการค้า ข้อมูลทางการเงิน | • ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนงาน หรือเป้าหมายที่กำหนด เช่น รายได้ หรือ กำไร ที่ลดลง หรืออาจส่งผลต่อต้นทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้น | • พัฒนาระบบ e-Tax ทำให้การออกเอกสารภาษีเต็มรูปแบบอย่างปลอดภัย • ตรวจสอบหาช่องโหว่ของระบบอย่างเป็นประจำ |
3 | การถูกโจมตีจากโปรแกรมไม่พึงประสงค์ | • ทำให้ข้อมูลสำคัญของบริษัทถูกขโมย • ทำให้ข้อมูลที่สำคัญสูญหาย • ทำให้ระบบโปรแกรมต่างๆ ทำงานช้าลง • เสี่ยงต่อการถูกเรียกค่าไถ่ข้อมูล | • จัดทำแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและทำการทดสอบการกู้คืนข้อมูล • จัดทำแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ • จัดตั้งหน่วยงานกู้คืนข้อมูลเมื่อถูกคุกคามทางไซเบอร์ • ควบคุมการเข้าถึงและใช้งานระบบสารสนเทศ • ควบคุมการใช้สิทธิ์ ในการติดตั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์ |
4 | การถูกโจมตีจากเว็บแอพพลิเคชั่น | • ทำให้ข้อมูลภายในเกิดการรั่วไหล | • ควบคุมการเข้าถึงและใช้งานระบบสารสนเทศ • การอัพเดตและการทดสอบเป็นประจำ |
5 | การถูกโจมตีเพื่อขัดขวางการทำงานของระบบ | • ทำให้โปรแกรมไม่สามารถใช้งานได้ • ทำให้ OS ระบบ Server ทำงานไม่ถูกต้อง • ทำให้ธุรกรรมต่างๆ ของบริษัทไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ | • ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมบน sandbox เท่านั้น • ทำการสำรองข้อมูล • ติดตั้งแอนดี้ไวรัสสแกนและอัพเดตเป็นประจำ • ใช้งานระบบ Cloud Server ที่ปลอดภัย |
6 | การเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัย | • เสี่ยงต่อการติด Virus • ข้อมูลอาจสูญหาย • เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลที่สำคัญ | • ใช้อุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง สำหรับอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต • ใช้การเชื่อมต่อ SSL ในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ |
7 | การได้รับสแปมเมล์ | • เสี่ยงต่อการติด Virus เพราะมีไฟล์แนบอีเมล์เข้ามาจากผู้ไม่หวังดีหรือเป็นโปรแกรมเรียกค่าไถ่ • มีอีเมล์ที่ถูกส่งจากโดเมนของเรา (เว็บไซต์ของคุณเอง) โดยมี username แปลกๆ ไปยังคนอื่นๆ เป็นจำนวนมาก | • ควบคุมการเข้าถึงและใช้งานระบบสารสนเทศ • เพิ่มตัวกรองอีเมล์ • กำหนด backlist อีเมล์ |
ความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ | |||
1 | ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ย | • ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้นกระทบต่อผลการดำเนินงานในภาพรวม • ยอดขายลดลง | • ติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น • การรักษาสภาพคล่องทางการเงิน • ปรับรูปแบบของสินค้าให้เหมาะสมตรงตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ |
ความเสี่ยงจากการปรับตัวเข้าสู่สังคมแห่งคาร์บอนต่ำ | |||
1 | การดำเนินธุรกิจ | • ยอดขายลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าของผู้บริโภค ที่หันมาใส่ใจสินค้าที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม | • เพิ่มกลุ่มสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือสินค้า ESG โดยกำหนดเป้าหมายจำหน่ายสินค้าดังกล่าวให้ได้ร้อยละ 40 ต่อรายได้จากการขายทั้งหมดภายในปี2568 • ติดตามเทรนด์สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันที |
2. จรรยาบรรณทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน
บริษัทมุ่งดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โดยได้มีการทบทวนและจัดทำคู่มือจรรยาบรรณทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน สำหรับพนักงานทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงาน ตลอดจนสำหรับคู่ค้าและผู้รับเหมา เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานด้วยความรับผิดชอบและซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงการไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ในปี 2565 พนักงานได้รับการสื่อสารนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน จำนวน 2,107 ราย
การสื่อสาร ให้ความรู้ และสร้างความตระหนัก
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่สนับสนุนหรือยอมรับการคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เผยแพร่นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มรับทราบ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ช่องทางการสื่อสารภายใน “Share Point” บอร์ดประชาสัมพันธ์ทุกสาขา
ในปี 2566 พนักงานได้รับการสื่อสารนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน จำนวน 5,051 ราย
การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน และการบริหารจัดการกรณีทุจริต
บริษัทได้จัดทำช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียน เพื่อเป็นการสนับสนุนการรับข้อร้องเรียนหรือเบาะแสที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมภายในองค์กร ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
ช่องทางการแจ้งเบาะแส | ช่องทางการแจ้งเบาะแส | ผู้รับเรื่อง |
---|---|---|
จดหมายธรรมดา | 232 หมู่ 19 ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 | สำนักงานตรวจสอบ |
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ | [email protected] | เลขานุการบริษัท |
เว็บไซต์บริษัท | https://globalhousenews.com/whistleblower-with-complaints/ | เลขานุการบริษัท |
โทรศัพท์ | Call Center 1160 | เลขานุการบริษัท |
รายงานการแจ้งเบาะแส
รายงานการแจ้งเบาะแส | 2564 | 2565 |
---|---|---|
การฝ่าฝืนการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณทางธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน | ไม่มี | ไม่มี |
การฝ่าฝืนกฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ | ไม่มี | ไม่มี |
การกระทำการทุจริตคอร์รัปชัน | ไม่มี | ไม่มี |
การกระทำผิดกฎหมาย | ไม่มี | ไม่มี |
การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการได้รับความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติงาน | ไม่มี | ไม่มี |
การเลือกปฏิบัติหรือการคุกคาม | ไม่มี | ไม่มี |
ผลประโยชน์ทับซ้อน | ไม่มี | ไม่มี |
การฟอกเงินและการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในที่สร้างผลกระทบต่อภายนอก | ไม่มี | ไม่มี |
การสื่อสาร ให้ความรู้ และสร้างความตระหนัก
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่สนับสนุนหรือยอมรับการคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เผยแพร่นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มรับทราบ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ช่องทางการสื่อสารภายใน “Share Point” บอร์ดประชาสัมพันธ์ทุกสาขา
3. การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูล
บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยี เพื่อกำหนดหลักการและข้อบังคับในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งมุ่งสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูลที่สำคัญของบริษัทฯรวมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความเสี่ยงของบริษัทฯ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญด้านการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า พนักงาน บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายคุ้มคอรงข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) เพื่อแจ้งให้ทราบถึงนโยบายความเป็นส่วนตัว รายละเอียดการรวบรวมข้อมูล การใช้หรือเปิดเผย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal DataProtection Act : PDPA) รวมถึงกำหนดระเบียบปฏิบัติ ในการดำเนินงานของบริษัทฯด้วยมาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน จะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ทั้งนี้หากบริษัทฯจะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ จะต้องได้รับความยินยอมก่อน และนำไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยในปี 2565 บริษัทฯ ได้ดำเนินงานยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้
- ประกาศใช้กระบวนการทำงานที่มีความสอดคล้องกับกฎหมาย PDPA
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
- เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ให้กับพนักงานทุกระดับ
- เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร เจาะลึกการประยุกต์ใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หลักสูตร Inhouse Training อบรมผ่านออนไลน์ โดยมีผู้บริหารและพนักงานเข้าร่วมอบรม จำนวน 31 ราย
สถิติความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อร้องเรียนด้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|
จำนวนข้อร้องเรียนด้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล - ลูกค้า | 0.0 | 0.0 | 0.0 |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล - คู่ค้า | 0.0 | 0.0 | 0.0 |
จำนวนข้อร้องเรียนด้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล - พนักงาน | 0.0 | 0.0 | 0.0 |
นวัตกรรมและเทคโนโลยี
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้ทันสมัย โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ กำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านบริการ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจ
1. โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบซื้อขายออนไลน์บนแอพพลิเคชั่น Click & Collect
เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและเพิ่มความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า อีกทั้งยังมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป
2. โครงการพัฒนาจุดรับชำระเงิน Self-Check Out
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ทำให้พฤติกรรมของลูกค้าและการใช้ชีวิตในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้บริษัทเล็งเห็นความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิดการบริการที่รวดเร็ว โดยบริษัทได้นำระบบบริการชำระเงินด้วยตนเอง (Self Service) เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร้านเพิ่มความรวดเร็ว และให้การบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าในไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. โครงการพัฒนา Digital OR Solutions ร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา
บริษัทฯ ได้มีการพัฒนา Digital OR Solution ร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพื่อยกระดับมาตรฐานการชำระเงินที่ช่องทางจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์ให้ลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการธุรกิจที่มาซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ที่บริษัทฯ ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยในการชำระเงินมากยิ่งขึ้น โดยได้พัฒนาโซลูชั่นการชำระเงินให้สอดคล้องและครอบคลุมความต้องการในทุกรูปแบบ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม
สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัทฯ มุ่งมั่นสรรหาสินค้าและพัฒนาบริการให้มีมาตรฐาน มีคุณภาพ ในราคาที่ยอมรับได้ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการใช้ชีวิต อาทิ วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่ตระหนักถึงความปลอดภัยมากขึ้น พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น กระแสการใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพบริการจัดส่งและติดตั้งสินค้าภายในวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ มุ่งมั่นสรรหาและสนับสนุนการจำหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยความใส่ใจในผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการบริโภคอย่างรับผิดชอบให้กับลูกค้า โดยแบ่งสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- ESG 1 กลุ่มประหยัดพลังงาน กลุ่มลดโลกร้อน กลุ่มประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ
- ESG 2 กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ
- ESG 3 กลุ่มสินค้าเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ
- ESG 4 กลุ่มสินค้าเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
ผลการดำเนินงาน
2566 | |
---|---|
สัดส่วนรายได้จากการขายสินค้ากลุ่ม ESG ต่อรายได้จากการขายทั้งหมด | 33.73% |
การบริหารที่มีคุณภาพ
1. ระบบซื้อขายออนไลน์แบบไร้รอยต่อ (Omni Channel)
ปัจจุบันการดำเนินชีวิตและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทำให้ลูกค้ามีการใช้ช่องทางการซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น บริษัทฯ จึงได้พัฒนาระบบการสั่งซื้อสินค้าและการบริการแบบไร้รอยต่อ (Omni Channel) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการเลือกซื้อสินค้าทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อตอบสนองสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า อีกทั้งยังมีบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน หรือการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และเลือกรับสินค้าได้ด้วยตนเองที่สาขาใกล้เคียง (Click & Collect) โดยลูกค้าสามารถทำการซื้อสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สาขาออนไลน์ แอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์ ศูนย์บริการลูกค้า 1160 และเว็บไซต์บริษัท
2. บริการจัดส่งสินค้า
บริษัทฯ ได้พัฒนาระบบการจองคิวจัดส่งสินค้าแบบออนไลน์ ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกวันและเวลาการจัดส่งสินค้าได้ตามความต้องการ รวมทั้งในปีที่ผ่านมา บริษัทฯได้เพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วของบริการจัดส่งสินค้าภายในวันที่ซื้อสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า จึงได้มีการเปิดตัวบริการจัดส่งสินค้าด่วนภายในวันเดียวกัน (Same Day Delivery) ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าที่อยู่ในรัศมีไม่เกิน 40 กม. เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้า ปั๊มน้ำ เตาแก๊ส เครื่องดูดควัน เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้อง เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าหรือบริการก่อนเวลา 16.00 น. บริษัทฯจะดำเนินการจัดส่งสินค้า ภายในเวลาไม่เกิน 19.00 น. ในวันเดียวกัน นอกจากบริการจัดส่งภายในวันแล้ว ยังมีการรับประกันสินค้าชำรุดเสียหายระหว่างการขนส่ง ก่อนที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า
3. โครงการรถร่วม (พนักงาน)
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด – 19 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้มีปริมาณสินค้าที่ต้องจัดส่งให้ลูกค้ามากขึ้น ส่งผลให้บริษัทไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด เพื่อพัฒนาระดับความพึงพอใจของลูกค้าในด้านบริการ บริษัทฯ จึงได้ปรับปรุงบริการจัดส่งสินค้าให้รวมเร็วตามความต้องการของลูกค้าจึงได้จัดทำโครงการ “โครงการรถร่วมพนักงาน” โดยเปิดโอกาสให้พนักงานนำรถยนต์ส่วนตัวมาร่วมจัดส่งสินค้าสำหรับลูกค้าที่มีความต้องการจัดส่งสินค้าภายในวัน นอกจากนี้ ยังได้พัฒนา Mobile Application เพื่อให้แผนกขายสามารถจองคิวจัดส่งสินค้า ให้ลูกค้าได้ทันที
4. บริการติดตั้งสินค้า
บริษัทฯ มีบริการติดตั้งสินค้า เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มสุขภัณฑ์ กลุ่มเครื่องกรองน้ำ กลุ่มถังน้ำและปั๊มน้ำ กลุ่มเครื่องครัวสำเร็จรูป กลุ่มรางน้ำฝน ระบบไฟฟ้า และโรงจอดรถเป็นต้น พร้อมทั้งรับประกันคุณภาพงานติดตั้งสูงสุด 180 วัน และบริษัทฯได้เพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วของงานติดตั้งสินค้าภายในวัน เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าก่อนเวลา 14.00 น. เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า
บริษัทฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม คำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า โดยบริษัทฯ ได้กำหนดให้พนักงานต้องให้ข้อมูลของสินค้าและบริการตามจริงและไม่ปกปิดข้อมูลสำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า
1. ความรับผิดชอบที่มีต่อลูกค้า
- บริการก่อนการขาย บริษัทฯ ยึดมั่นในการตลาดที่เป็นธรรมโดยกำหนดให้พนักงานต้องให้ข้อมูลของสินค้าและบริการตามจริงและไม่ปกปิดข้อมูลสำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า พนักงานต้องให้คำแนะนำการใช้งานของสินค้าและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานพร้อมทั้งวิธีการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ลูกค้า
- บริการหลังการขาย บริการจัดส่งสินค้าและบริการติดตั้ง (INSTALLATION SERVICE) สินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบไฟ กระเบื้องปูพื้น ประตู หน้าต่าง ไม้พื้น ลามิเนต ถังน้ำ ปั๊มน้ำ รางน้ำ เครื่องครัว สุขภัณฑ์ และงานทาสี ตามเงื่อนไขของบริษัทฯ รวมถึงการรับประกันหลังงานติดตั้ง
- บริการซ่อมสินค้าสำหรับสินค้า HOUSE BRAND จะดำเนินการซ่อมให้ตามเงื่อนไขที่กำหนดและสำหรับสินค้าที่มีเจ้าของผลิตภัณฑ์บริษัทฯ จะเป็นผู้ประสานงานนำส่งให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ พร้อมกับติดตามการซ่อมสินค้าจนแล้วเสร็จ
- บริการรับคืนสินค้า บริษัทฯ กำหนดนโยบายให้มีการรับคืนสินค้าภายหลังการขาย โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ลูกค้าซื้อสินค้า
2. ความพึงพอใจของลูกค้า
บริษัทฯ มีการกำหนดกระบวนการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้ารวมทั้งกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าเพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงสินค้าและการบริการตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความประทับใจ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยให้ความสำคัญต่อสินค้าและการบริการที่มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับความพร้อมของพนักงาน “GBH Smart People”ภายใต้นโยบายหลักด้านคุณภาพ 5 ประการ ดังนี้
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
1. จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติของคู่ค้า (Supplier Code of Conduct)
บริษัทฯ ได้กำหนดจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติของคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้า และผู้ผลิต มีแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามแนวทางการบริหารของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทบทวนและปรับปรุง และแนวทางปฏิบัติของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมประเด็นสิทธิมนุษยชนและแรงงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมาย
2. เกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้า Supplier screening criteria
การจัดหาเป็นกระบวนการสำคัญเพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายและคุณภาพสินค้าและบริการ ที่บริษัทฯ จะนำมาใช้ในการดำเนินกิจการ จึงจำเป็นต้องมีขั้นตอนดำเนินการที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท ด้วยความเป็นธรรม สมเหตุสมผล โปร่งใส สามารถตรวจสอบและอธิบายได้ นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับคู่ค้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน และเสริมสร้าง สัมพันธภาพในการทำงานที่ดีกับคู่ค้าบนพื้นฐานของการให้เกียรติและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกคู่ค้าที่เหมาะสม โดยจะต้องมั่นใจว่ากระบวนการคัดเลือกและการปฏิบัติต่อคู่ค้าเป็นไปอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งสนับสนุนการทำธุรกิจ กับคู่ค้า บริษัทผู้ผลิต และผู้รับเหมา (“คู่ค้า”) ที่ดำเนินการอย่างเป็นธรรม ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ที่ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม(ESG) ดังนี้
- มีประวัติทางการเงินที่เชื่อถือได้และมีศักยภาพ ที่จะเติบโตไปพร้อมกับบริษัทฯได้ในระยะยาว
- มีกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามข้อกำหนดตามกฎหมาย อาทิ การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การไม่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบคุณภาพได้
- สามารถจัดส่งสินค้าได้ในปริมาณและเวลาตามที่ตกลง
- ให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมการขายและการให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า
- การให้ความร่วมมือกับบริษัทฯในเรื่องตัวอย่างสินค้า ใบเสนอราคา หรือ ข้อมูลอื่นๆ เช่น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) ซึ่งครอบคลุมถึงจริยธรรมทางธุรกิจ แรงงานและสิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และ กฎหมายและข้อกำหนด
3. การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า
บริษัทฯ มีการวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขายของคู่ค้า โดยพิจารณาจากข้อมูลที่จำเป็น เช่น จำนวนคู่ค้า กลุ่มสินค้าที่สั่งซื้อมูลค่าการสั่งซื้อและแหล่งที่อยู่ของคู่ค้าเพื่อนำไปวิเคราะห์กระบวนการทำงานและบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน
เป้าหมายการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
กลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทาน | เป้าหมาย | ปีเป้าหมาย | |
---|---|---|---|
จรรยาบรรณของคู่ค้า | แจ้งให้ทราบ | 100% | 2564 |
รับทราบ | 80% | 2564 | |
อบรม | 70% | 2568 | |
การประเมินความเสี่ยง | การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG | 90% | 2565 |
ความยั่งยืน | การอบรมพนักงาน-เรื่องห่วงโซ่อุปทานและความยั่งยืน | 100% | 2568 |
การอบรมคู่ค้า-เรื่องห่วงโซ่อุปทานและความยั่งยืน | 70% | 2568 |
ข้อมูลการซื้อของคู่ค้า
แหล่งที่มาของสินค้า | จำนวน (ราย) | อัตรา (ร้อยละ) |
---|---|---|
ประเทศไทย | 682 | 77.94 |
ต่างประเทศ | 193 | 22.06 |
รายละเอียดเกี่ยวกับคู่ค้าหลัก
ประเภทคู่ค้า | จำนวน (ราย) | อัตรา (ร้อยละ) |
---|---|---|
Significant Supplier | 38 | 4.34 |
Non-Significant Supplier | 837 | 95.66 |
มาตรการดำเนินการ กรณีคู่ค้าไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด
เจรจาแก้ไขปัญหาโดยมีการกำหนดขอบเขตปัญหาและระยะเวลาที่ชัดเจน
- การตักเตือนด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร
- การบอกเลิกสัญญาการค้า
- การเรียกร้องค่าเสียหาย
4. การกำกับดูแลและการตรวจประเมินคู่ค้า
บริษัทฯ ได้จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติของคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้านำไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ และได้จัดให้มีการประเมินตนเองด้านความยั่งยืนของคู่ค้า โดยแบบประเมินได้ครอบคลุมประเด็นที่ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social, Governance : ESG) โดยให้คู่ค้าทำการประเมินตนเองผ่านระบบ GLOBAL SOFT เป็นประจำทุกปี รวมถึงได้กำหนดให้ฝ่ายจัดซื้อต้องดำเนินการตรวจเยี่ยมคู่ค้า ณ สถานประกอบการ (ON SITE AUDIT) เป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจสอบคุณภาพและการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ค้า
ผลการดำเนินงานในปี 2565
- การตรวจประเมินคู่ค้า(ON SITE AUDIT) : บริษัทฯดำเนินการตรวจสอบและประเมินคู่ค้าในด้านคุณภาพและด้านความยั่งยืน (ON SITE ESG AUDIT) โดยเป็นการลงพื้นที่ตรวจประเมินยังสถานประกอบการของคู่ค้า เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนรวมถึงข้อกำหนดตามจรรยาบรรณของคู่ค้าและแนวปฏิบัติของคู่ค้า(SUPPLIER CODE OF CONDUCT) โดยปี2565 ได้เข้าตรวจกลุ่มคู่ค้าหลัก (CRITICAL SUPPLIERS) จำนวน 6 ราย และคู่ค้ารอง (NON CRITICAL SUPPLIERS) จำนวน 3 ราย พบว่าคู่ค้าทั้ง 9 ราย มีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม รวมถึงไม่พบการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนจรรยาบรรณของคู่ค้าและแนวปฏิบัติของคู่ค้า
- การประเมินตนเองด้านความยั่งยืนของคู่ค้า : บริษัทฯได้จัดทำแบบประเมินตนเองด้านความยั่งยืนของคู่ค้าโดยกำหนดให้คู่ค้าภายในประเทศต้องทำแบบประเมินผ่านระบบGLOBAL SOFT โดยปี 2565 มีคู่ค้าในประเทศจำนวน 482 ราย ได้ตอบแบบประเมินตนเองจากคู่ค้าในประเทศทั้งหมด 596 ราย หรือ คิดเป็น 80.87%
5. นโยบายการกำหนดเวลาการให้สินเชื่อทางการค้า (Credit Term)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสภาพคล่องและการบริหารการจัดการเงินสด โดยทำการกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนระยะเวลา Credit Term สำหรับคู่ค้า ภายในระยะเวลา 7 – 180 วัน ซึ่งทำการพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ ยอดการซื้อขายสินค้าร่วมกัน คุณภาพของสินค้าเป็นต้น
สำหรับข้อมูลระยะเวลาการให้ Credit Term ของบริษัทฯ ตามระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริง มีรายละเอียด ดังนี้
รายการ | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|
ระยะเวลาการให้สินเชื่อทางการค้า (AP Day) | 41 วัน | 38 วัน | 37 วัน |
6. การพัฒนาคู่ค้า
ตั้งแต่ปี 2553 ทางบริษัทฯ ได้นำระบบ VMI (Vendor Managed Inventory) ซึ่งเป็นระบบให้คู่ค้าบริหารจัดการสินค้าด้วยตนเอง มาใช้ร่วมกับคู่ค้าในการเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าของคู่ค้า โดยอาศัยการที่คู่ค้าเป็นผู้บริหารสินค้าคงคลังให้แก่ทางบริษัท หลักการสำคัญของการทำ VMI คือ การให้คู่ค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลยอดขายจริงของทางบริษัทและปริมาณสินค้าคงคลังเป็นรายสาขา ซึ่งจะทำให้คู่ค้าสามารถวางแผนการผลิตการจัดส่งสินค้าและการส่งเสริมการขายของทางคู่ค้าเองได้อย่างละเอียดแม่นยำและตรงต่อความต้องการในแต่ละพื้นที่ ซึ่งความต้องการอาจแตกต่างกันไปและให้อำนาจแก่คู่ค้าในการเป็นผู้ออกคำสั่งซื้อและดำเนินการเติมสินค้าให้แก่ทางบริษัท ทั้งนี้การทำ VMI จะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าของคู่ค้าและเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานของทั้งคู่ค้าและทางบริษัท และยังคงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าปลายน้ำได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ บริษัทจะนำผลการประเมินด้านความยั่งยืน (Suppliers- ESG Assessment) ของคู่ค้าแต่รายในอุตสาหกรรมเดียวกันมาทำการเปรียบเทียบ หากคู่ค้ารายใดมีผลการประเมินในแต่ละมิติต่ำกว่าเกณฑ์ จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ค้า
7. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement)
บริษัทตระหนักดีว่าการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมอย่างหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัท เนื่องจากการจัดซื้อเป็นกระบวนการสำคัญของทุกธุรกิจที่มีบทบาทอย่างมากในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว โดยมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัท รวมถึงการสรรหาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงาน
1. การจัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การจัดซื้อรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forkif:) ให้กับสาขาที่เปิดใหม่ แทนรถโฟล์คลิฟท์ประเภทแก๊สและน้ำมัน และทดแทนรถโฟล์คลิฟท์ของสาขาเดิมที่ครบอายุการใช้งานแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา โดยการทำงานของรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในต้านเสียง กลิ่น และมลพิษทางอากาศ
- การจัดซื้อรถยกไฟฟ้า (Electric Stacker) เพื่อใช้โยกย้ายสินค้าภายในพื้นที่ขายปลีกของทุกสาขา
- รถยนต์ระบบไฮบริด บริษัทมีนโยบายจัดชื้อรถยนต์ระบบไฮบริดสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐาน
2. การสรรหาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดส้อม เพื่อสนับสนุนและตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยบริษัทได้จัดเป็นกลุ่มสินค้า ESG ซึ่งประกอบด้วยสินค้ากลุ่มประหยัดพลังงาน กลุ่มลดโลกร้อน กลุ่มประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มสินค้าเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ และกลุ่มสินค้าเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตใหม่
8. การอบรมพัฒนาศักยภาพของพนักงานจัดซื้อจัดหา (Company’s Buyers Officer Training)
บริษัทฯ จัดให้มีการอบรมพัฒนาศักยภาพของพนักงานจัดซื้อจัดหาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการทำงานของพนักงาน ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสื่อสารนโยบาย จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติของคู่ค้า หลักเกณฑ์ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และการประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ และเหมาะสม สามารถดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วโดยใช้องค์ความรู้ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
การสนับสนุนองค์กรภายนอกและสมาคมต่างๆ
หน่วย : บาท
กิจกรรม/องค์กร | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 |
---|---|---|---|---|
การวิ่งเต้นเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือโน้มน้าวการตัดสินใจของรัฐบาล | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 |
การรณรงค์หาเสียงทางการเมือง /สมาคม / ผู้สมัคร | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 |
อื่นๆ เช่น การจ่ายเงินเกี่ยวกับมาตรการลงคะแนนเสียง หรือการลงประชามติ | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 |
ระหว่างปี 2562-2565 บริษัทฯมิได้ให้การสนับสนุนเพื่อชี้นำองค์กรใด หรือเป็นผู้แทนที่มีส่วนได้เสียทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค หรือการรณรงค์หาเสียง/ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง การเมืองระดับชาติ และอื่นๆ (การใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียง การลงประชามติ ฯลฯ) รวมถึงไม่ได้สนับสนุนสมาคมและองค์กรทางธุรกิจใดๆ