การพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติสังคม

Smart People “ใส่ใจดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้กับสังคม”

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม

สิทธิมนุษยชน

         บริษัทฯ ตระหนักว่าการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นความรับผิดชอบสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกุล่ม อาทิ ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้า เจ้าหนี้ ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนซึ่งสอดคล้องกับหลักกฎหมายภายในประเทศและมาตรฐานสากล อาทิ หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGPs) เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร โดยถือเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องรับทราบและปฏิบัติ โดยได้เผยแพร่นโยบายไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://investor.globalhouse.co.th/sustainable-development-th/#sustainable-policy

การบริหารทรัพยากรบุคคล

         ทรัพยากรบุคคลเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จตลอดจนสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการ

         บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยกำหนดกลยุทธ์ด้านบุคลากรตั้งแต่การสรรหาพนักงาน การพัฒนาพนักงาน และการรักษาพนักงานพร้อมกับสนับสนุนให้พนักงานได้รับโอกาสเติบโต มีความก้าวหน้าในอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ และศาสนา มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และความสามารถ ตลอดจนส่งเสริมให้พนักงานเป็นคนดี มีจิตอาสา ทำประโยชน์เพื่อสังคมและส่วนรวม ตามนโยบายการบริหารบุคคลของบริษัทฯ “GBH Smart People”

1. การสรรหาพนักงาน

         จากแผนการดำเนินงานหลัก ที่มุ่งเน้นการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้บริษัท ฯ ต้องวางแผนการสรรหาพนักงานล่วงหน้า เพื่อรองรับการดำเนินงาน ทั้งนี้บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการจ้างงาน โดยการส่งเสริมการจ้างงานภายในพื้นที่ของสาขาที่บริษัทฯ เปิดดำเนินการเป็นหลัก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและแรงงานในพื้นที่ รวมถึงการสรรหาพนักงานภายในเพื่อโอนย้ายกลับสู่ภูมิลำเนา

         นอกจากนี้ได้ส่งเสริมการสร้างอาชีพให้กับผู้ด้อยโอกาส โดยการให้ความร่วมมือและสนับสนุนนโยบายการจ้างงานของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การจ้างงานผู้สูงอายุ การจ้างงานคนพิการ การจ้างงานนักศึกษาจบใหม่

2. การฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงาน

         นอกจากการพัฒนาพนักงานตามข้างต้น บริษัทฯ ยังได้ขยายความร่วมมือและการพัฒนาไปยังสถาบันการศึกษา โดยในปี 2565 ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เกี่ยวกับการร่วมผลิตบัณฑิตและการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับทำงาน (Work Integrated Learning : WIL) โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์การทำงานในสภาพจริงขององค์กร เพื่อพัฒนาคุณลักษณะและทักษะของนักศึกษา ให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและร่วมผลิตบัณฑิตกว่า 9 แห่ง 6 สาขาวิชา และมีนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมฝึกประสบการณ์และเรียนรู้จากการทำงานจริงกว่า 100 คน

3. การรักษาพนักงาน

         พนักงานคือกำลังสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้เจริญเติบโตและยั่งยืน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการดูแลรักษาพนักงานให้เกิดความรักความผูกพันและอยู่กับองค์กร โดยมีการดำเนินงานในการดูแลรักษาพนักงาน ดังนี้

  • การบริหารค่าตอบแทน และสวัสดิการพนักงาน
  • สิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น จัดหาสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านการเงิน ลดภาระหนี้สินให้กับพนักงาน
  • ความผูกพันของพนักงาน เป็นการยกระดับความพึงพอใจและความผูกพันกับองค์กรของพนักงานให้สูงขึ้น

สรุปผลการดำเนินงานด้านการบริหารบุคลากรในปี 2565

1. การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมกันและความหลากหลาย

ความหลากหลายทางเพศ
เพศจำนวน (ราย)ร้อยละเทียบกับพนักงานทั้งหมด
ชาย5,77057.34
หญิง4,29342.66

หมายเหตุ : ร้อยละเทียบกับพนักงานทั้งหมด

ความหลากหลายทางอายุ
เพศจำนวน (ราย)ร้อยละเทียบกับพนักงานทั้งหมด
น้อยกว่า 30 ปี4,03640.11
ระหว่าง 30-55 ปี5,40153.67
มากกว่า 55 ปี6266.23

หมายเหตุ : ร้อยละเทียบกับพนักงานทั้งหมด

ความหลากหลายทางสัญชาติ
สัญชาติพนักงานทั้งหมด (ร้อยละ)ผู้บริหารทั้งหมด (ร้อยละ)
กัมพูชา0.010.00
ฟิลิปปินส์0.010.00
จีน0.010.00
ความหลากหลายทางศาสนา
ศาสนาจำนวน (ราย)ร้อยละเทียบกับพนักงานทั้งหมด
พุทธ9,90498.42
คริสต์130.13
อิสลาม1461.45

หมายเหตุ : ร้อยละเทียบกับพนักงานทั้งหมด

2. การส่งเสริมความสามารถในการทำงานของพนักงานหญิง

ตัวชี้วัดช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ
สัดส่วนของพนักงานหญิงผลดำเนินงานปี 2565 (ร้อยละ)เป้าหมายปี 2568 (ร้อยละ)
สัดส่วนหญิงต่อพนักงานทั้งหมด42.6650
ผู้บริหารหญิงระดับปฏิบัติการต่อผู้บริหารทั้งหมด37.4640
ผู้บริหารหญิงระดับกลางต่อผู้บริหารทั้งหมด43.2445
ผู้บริหารหญิงที่อยู่ในหน่วยงานที่สร้างรายได้ให้กับองค์กร35.6940
ผู้บริหารหญิงระดับผู้บริหารทั้งหมด33.3340
ตัวชี้วัดความแตกต่างระหว่างพนักงานหญิง-ชาย (ร้อยละ)
ช่องว่างของค่าจ้างเฉลี่ยระหว่างเพศ8.34
ช่องว่างของค่าจ้างมัธยฐาน4.04
ช่องว่างของค่าเฉลี่ยโบนัส11.35
ช่องว่างของค่ามัธยฐานของโบนัส5.88
ช่องว่างรายได้ที่แตกต่างกันระหว่างเพศ
ระดับพนักงานค่าเฉลี่ยรายได้พนักงานหญิงค่าเฉลี่ยรายได้พนักงานชาย
ฐานเงินเดือนผู้บริหาร0.931
ฐานเงินเดือนผู้บริหาร + รายได้อื่นๆ +โบนัส0.871
ฐานเงินเดือนระดับผู้จัดการ1.141
ฐานเงินเดือนระดับผู้จัดการ + รายได้อื่น +โบนัส1.211
ฐานเงินเดือน พนักงานทั่วไป1.041

3. การจ้างงานคนพิการ

4. เสรีภาพในการสมาคม

         บริษัทฯ ส่งเสริมและให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการรวมกลุ่มของพนักงาน รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการและช่องทางการรับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น ตู้แดง (Voice of employee), ระบบ Call Center, ศูนย์รับข้อร้องเรียนด้านต่างๆ โดยรวมถึงการเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น ผ่านคณะกรรมการสวัสดิการ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการมีส่วนร่วมของพนักงาน

         บริษัทฯ ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการรวมกลุ่มและมีอำนาจในการต่อรองร่วมกันในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของพนักงานในการร่วมปรึกษาหารือ เสนอแนะ ตรวจสอบ ดูแลการจัดสวัสดิการ รวมทั้งการบริหารจัดการข้อเสนอแนะและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

         คณะกรรมการสวัสดิการจะได้รับการสรรหาและคัดเลือก โดยการเลือกตั้งจากพนักงานในแต่ละพื้นที่สาขา ครอบคลุมพนักงาน ร้อยละ 100 เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนพนักงาน ซึ่งกรรมการสวัสดิการที่ได้รับการเลือกตั้งจะมีวาระดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 2 ปี และจัดประชุมร่วมกับผู้บริหารสาขาและบริษัท อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

         ปัจจุบันคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทครอบคลุมรวมทุกพื้นที่สาขา มีจำนวนทั้งหมด 81 คณะ และมีกรรมการสวัสดิการจำนวนรวมทั้งหมด 405 คน โดยคณะกรรมการสวัสดิการในแต่ละพื้นที่สาขาจะดำเนินการจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือ เสนอแนะแนวทางดำเนินการปรับปรุงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการและสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีให้กับพนักงาน อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน

5. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

         บริษัทฯ ยึดมั่นในการเคารพสิทธิแรงงานของพนักงาน และการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น การจ้างงาน ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุดและสวัสดิการ รวมถึงสถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้บริษัทฯ ได้กำหนดสวัสดิการสำหรับพนักงาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

โปรแกรมพัฒนาพนักงาน
สวัสดิการสิทธิตามกฎหมายสิทธิที่บริษัทมอบให้พนักงาน
จำนวนวันลาคลอดเลี้ยงดูบุตรสำหรับพนักงานหญิง98 วัน98 วัน
วันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน14 วัน
วันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน6-15 วัน
วันลากิจ/วันลาเพื่อดูแลบุตรที่คลอดใหม่สำหรับพนักงานชาย3 วัน12 วัน

         ทั้งนี้บริษัทฯ ยังได้จัดสรรสวัสดิการที่หลากหลายให้กับพนักงาน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีระหว่างการทำงานร่วมกับบริษัท เช่น สวัสดิการเงินกู้ พื้นที่คลายเครียด มุมให้นมบุตร เป็นต้น ตลอดจนสวัสดิการด้านความมั่นคงของชีวิต เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิต เงินช่วยเหลือกรณีประสบภัย

สวัสดิการพนักงาน

         1. พื้นที่คลายเครียด

         บริษัทจัดพื้นที่นั่งและมุมหนังสือ สำหรับพักผ่อนและคลายความเครียดให้กับพนักงานในช่วงเวลาพัก

         บริษัทจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตใจและการผ่อนคลายความเครียดให้กับพนักงาน เช่น การกิจกรรมทำบุญตักบาตร และกิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ ประจำทุกปี

         2. การสร้างสรรค์ด้านกีฬาและสุขภาพ

         บริษัทส่งเสริมให้พนักงานมีการออกกำลังกายและแข่งขันกีฬา ทั้งภายในและภายนอกสาขา/บริษัท

         บริษัทส่งเสริมพนักงานให้มีการดูแลสุขภาพ โดยการจัดตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ และให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ

         บริษัทส่งเสริมพนักงานให้มีการดูแลสุขภาพ และสร้างภูมิคุ้มกัน โดยร่วมบริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทยเป็นประจำทุกปี

         บริษัทจัดสวัสดิการสำหรับดูแลพนักงานที่คลอดบุตร หรือนอนพักรักษาอาการป่วย รวมถึงพนักงานและครอบครัวเสียชีวิต โดยดำเนินการผ่านคณะกรรมการสวัสดิการและตัวแทนบริษัท

สวัสดิกรครอบครัว

         1. การให้นมบุตร

         บริษัทจัดเตรียมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก “มุมนมแม่” สำหรับคุณแม่เพื่อให้นมบุตร

         บริษัทจัดเตรียมสถานที่ “สนามเด็กเล่น” สำหรับดูแลและให้บริการบุตรพนักงานและลูกค้า

6. การสรรหาพนักงาน

ปี2562256325642565
ค่าใช้จ่ายในการสรรหาพนักงาน (บาท/คน)--1,233.72830.78
สัดส่วนพนักงานที่เปิดรับภายใน (%)--8.318.6
จำนวนพนักงานที่รับใหม่ (คน)--2,3883,984
ข้อมูลพนักงานที่รับเข้ามาใหม่
ปี2562256325642565
เพศชาย--1,5122,523
เพศหญิง--8761,416
แยกตามช่วงอายุรับมาใหม่ (คน)
น้อยกว่า 30 ปี--1,5982,670
ระหว่าง 30-50 ปี--7431,242
มากกว่า 50 ปี--4772
แยกตามตำแหน่งตำแหน่งงานรับมาใหม่ (คน)
พนักงาน--2,2093,742
ผู้จัดการระดับต้น--164233
ผู้จัดการระดับกลาง--159
ผู้จัดการระดับสูง--00
แยกตามศาสนารับมาใหม่ (คน)
พุทธ--2,3583,934
คริสต์--2945
อิสลาม--12
อื่น ๆ--03

7. การอบรมและพัฒนาพนักงาน

รายละเอียด25642565
จำนวนพนักงานที่ฝึกอบรม (คน)10,07410,077
จำนวนชั่วโมงที่ฝึกอบรม (ชั่วโมง)83,51181,422
จำนวนชั่วโมง / คน / ปี8.298.08
มูลค่าการฝึกอบรม (บาท)198,653.451,940,965.09
7.1 โปรแกรมการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารสาขา

         บริษัทมุ่งพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของทีมงานผู้บริหารสาขา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบริหารงานสาขา ทั้งด้านการขายและการบริการ รวมทั้งทีมงานบุคคลากรในแต่ละสาขาให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของบริษัท     

กลุ่มเป้าหมายหัวข้อการพัฒนาผลลัพธ์และประโยชน์ที่จะได้รับ
พนักงานที่มีศักยภาพ (High Potential Talent) โดยได้รับการคัดเลือกจากผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์• กระบวนการทำงานและการบริหารงานทุก Function ภายในสาขา
   ◦ งานขายปลีกและงานขายโครงสร้าง
   ◦ งานสนับสนุนสาขาและงานส่วนกลาง
• ระบบโปรแกรมและเครื่องมือด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
• บทบาทของผู้บริหารสาขา
• การบริหารและพัฒนาทีมงาน
• การฝึกปฏิบัติงานจริง และผู้บริหารระดับสูงให้คำแนะนำ
• ผู้เข้าร่วมโปรแกรมตลอดทั้งโครงการ = 321 คน
• จำนวนวันที่อบรมใน Program (Man Day) = 5,805 วัน
• สามารถสร้างยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาต่อปี = 451 ล้านบาท
• % Employee Engagement Score (Leadership) มากกว่า 90%
7.2 โปรแกรมการพัฒนาผู้จัดการฝึกหัดรุ่นใหม่

         บริษัทส่งเสริมและสร้างโอกาสให้พนักงานทั้งที่จบใหม่ และที่มีประสบการณ์ ซึ่งมีความพร้อมในการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและพัฒนาตัวเองในสายงานธุรกิจค้าปลีก เพื่อเพิ่มศักยภาพและเตรียมความพร้อมในการเติบโตในสายอาชีพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของทีมบริหารงานสาขาในอนาคต

โครงการผู้จัดการฝึกหัด 

  • เริ่มโครงการตั้งแต่ ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน
  • ปัจจุบันมีจำนวน 8 รุ่น ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดรวม 58 คน
  • โดยปัจจุบันเติบโตในสายงาน ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสาขาและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 17 คน
กลุ่มเป้าหมายหัวข้อการพัฒนาผลลัพธ์และประโยชน์ที่จะได้รับ
พนักงานใหม่ ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ และมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานหน่วยงานและพื้นที่สาขาของบริษัท • กระบวนการทำงานธุรกิจค้าปลีกภายในสาขา
• การสอนงานและการบริหารจัดการทีมงาน
• การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดสาขาใหม่ร่วมกับทีมพี่เลี้ยง
• การปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานที่มอบหมาย
• ผู้เข้าร่วมโปรแกรมตลอดโครงการ = 58 คน
• จำนวนวันที่อบรมใน Program (Man day) = 5,220 วัน
• อัตราการเติบโตของผู้จัดการฝึกหัดในสายอาชีพ โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นระดับผู้บริหารสาขา = 30 %

8. การประเมินผลงานพนักงาน

         บริษัทกำหนดและจัดทำนโยบายการประเมินผลการปฏิบัติงาน หลักเกณฑ์การประเมิน รวมถึงการนำผลการประเมินไปใช้พิจารณาผลตอบแทน และดำเนินการในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยบริษัทดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยมาตรฐานเดียวกัน เป็นประจำทุกไตรมาส ผ่านระบบ HR Management เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม ซึ่งจะยึดถือวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงาน (Management by objectives) เป็นรูปแบบการประเมินมาตรฐาน และเพิ่มเติมการประเมินมิติด้านอื่นๆ สำหรับกลุ่มงานที่มีลักษณะงานแตกต่างกัน

อาชีวอนามัย และความปลอดภัย

         บริษัทฯ ตระหนักดีว่าสุขอนามัยที่ดีและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย จะส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และสร้างความมั่นใจต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการวางแนวบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

         บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินงานที่ปราศจากการเกิดอุบัติเหตุ โดยได้ตั้งเป้าหมาย “อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์” หรือ “Zero Accident” เพื่อรณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ไม่เกิดอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดความบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน ในทุกกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมด โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • จำนวนอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตของพนักงาน เท่ากับ ศูนย์ ทุกปี
  • อัตราการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานของพนักงานเป็น ศูนย์ ทุกปี
  • ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน (LTIFR) น้อยกว่า 1.0 ภายในปี 2568

สถิติการเกิดอุบัติเหตุ

อัตราการเกิดอุบัติเหตุ25652566
จำนวนสาขา (รวมศูนย์กระจายสินค้า)7884
จำนวนการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน104106
อัตราเฉลี่ยการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต่อสาขา11.331.27
อัตราการบาดเจ็บที่บันทึกทั้งหมด5.124.69
อัตราการบาดเจ็บรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต)200
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Lost time Injury Frequency Rate: LTIFR)3
· พนักงานบริษัท3.833.
· พนักงานพีซี0.631.05
· ผู้รับเหมาn/a4.57
โรคจากการทำงาน (Occupational Illness Frequency Rate: OIFR)400
การเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต5 (ราย)
พนักงานบริษัท
· ชาย119
· หญิง04
พนักงานพีซี
· ชาย32
· หญิง11
ผู้รับเหมา
· ชายn/an/a
· หญิงn/an/a
· หญิง
· ชาย43
· หญิง21

หมายเหตุ : 

  1. อัตราเฉลี่ยการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต่อสาขา = จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ/จำนวนสาขา
  2. อัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน = จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ/จำนวนชั่วโมงการทำงานรวม X 1,000,000
  3. จำนวนครั้ง/จำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งหมด
  4. เนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัย
1. ยกระดับอาชีวอนามัย สร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน

          บริษัทฯ ตระหนักถึงด้านความปลอดภัย โดยมุ่งเน้นให้เป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ ภายในปี 2568 บริษัทจึงได้มีการดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานและพื้นที่การปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดให้คณะกรรมการด้านความปลอดภัยในการทำงาน อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ ปฏิบัติหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และตรวจประเมินาดรดำเนินการตามมาตรฐาน แผนงาน หรือนโยบายตามที่กำหนด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสื่อสารข้อมูลข่าวสารการเกิดอุบัติเหตุและแนวทางการดำเนินการแก้ไขร่วมกับคณะทำงานด้านความปลอดภัยจากส่วนกลาง เพื่อยกระดับการจัดการให้เป็นมาตรฐานในการดำเนินการ

         นอกจากนี้ บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านความปลอดภัยขององค์กร โดยให้มีการรายงานพื้นที่การปฏิบัติงาน จุดเสี่ยง หรือขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายผ่านช่องต่าง ๆ เช่น การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ การสำรวจพื้นที่ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety Patrol) พร้อมทั้งร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินการแก้ไข และจัดลำดับการดำเนินการแก้ไข ผ่านการประเมินความเสี่ยง เป็นต้น

2. โครงการสำรวจความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม Safety Patrol

          บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการสร้างความตระหนักถึงพฤติกรรมความปลอดภัย สภาพแวดล้อมในการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ใช้บริการ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ยังมุ่งเน้นให้เป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ โดยได้จัดให้ คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่าง ๆ รวมถึงพนักงานทุกคน ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบค้นหาอันตรายในพื้นที่การปฏิบัติงาน ที่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ใช้บริการแล้วดำเนินการแก้ไข เพื่อป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ

3. โครงการฝึกการหยั่งรู้อันตรายล่วงหน้า KYT

         โครงการ KYT มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีการดำเนินการในทุก ๆ ช่วงกะของการเริ่มปฏิบัติงาน โดยมีผู้บริหาร หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเป็นผู้เริ่มดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลด้านความปลอดดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งแนะนำเรื่องการปฏิบัติงานในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้บริการผู้ใช้บริการ การปฏิบัติงานถูกต้องและปลอดภัย พื้นที่ที่อาจเป็นจุดเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานหรือในการให้บริการ รวมถึงชี้แจงปัญหาในการให้บริการ วิธีการแก้ไข และการรับมือแต่ละสถานการณ์ เป็นต้น

4. โครงการสื่อสาร ข่าวสารด้านความปลอดภัย Safety Talk

         บริษัทฯ ส่งเสริมความเข้าใจ ให้ความรู้ และสร้างความตระหนักให้แก่พนักงานทุกคน เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับตัวพนักงาน โดยการปลูกจิตสำนึกของการรู้ถึงสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงวิธีการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร อย่างถูกต้องและปลอดภัยให้แก่พนักงานทุกคน เป็นต้น

5. การเข้าร่วมโครงการ “ถนนปลอดเหตุ ชีวิตปลอดภัย”

         บริษัทฯ ได้เข้าร่วม ลงนาม MOU ความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เพื่อ “ถนนปลอดเหตุ ชีวิตปลอดภัย” MEMORANDUM OF UNDERSTANDING for “Safe Roads, Save Lives” ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา ร่วมกับสโมสรโรตารีประเทศไทย แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์กรอนามัยโลก ด้านความปลอดภัยทางถนน (CCS – RS) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเดินหน้าเจตนารมณ์ร่วมกันขับเคลื่อนให้ประเทศไทย เป็นสังคมที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางถนน โดยบริษัทฯเป็นส่วนหนึ่งของภาคเอกชนที่จะร่วมผลักดันการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน ให้กับบุคลากรของบริษัทฯ พร้อมทั้งร่วมเป็นทีมงานสื่อสาร และประสานงานการทำงานระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและมีผลเป็นรูปธรรม

การพัฒนาชุมชนเพื่อสังคม

         บริษัทฯ ตระหนักถึงบทบาทของการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าให้กับสังคม มุ่งหวังที่จะพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น และเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้แข็งแกร่ง ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยอยู่บนพื้นฐานของการสร้างคุณค่าร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล

แนวทางการบริหารจัดการ

         บริษัทฯ สนับสนุนและส่งเสริมการใช้กระบวนการทางธุรกิจ ในการสร้างคุณค่าที่หลากหลายให้กับสังคมและชุมชนผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย การส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่มเกษตรกร และการเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ให้กับนักศึกษา ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมทำงานอาสาสมัครร่วมกับชุมชน

1. การส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กลุ่มเกษตรกรผ่าน “โครงการปันสุขสร้างรอยยิ้ม และ Platform เกษตรดี”

         ด้วยสถานการณ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร เนื่องจากจำหน่ายผลผลิตได้น้อยลง ไม่มีพื้นที่จัดวางจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร และบางพื้นที่มีผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด “โครงการปันสุขสร้างรอยยิ้ม” จึงถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมบรรเทาปัญหาของเกษตรกร บริษัทฯ ได้รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา อาทิ ข้าวโพดหวาน มันหวาน กล้วยหอม ถั่วลิสง และเผือก เป็นต้น และกระจายผลผลิตไปยัง “พื้นที่ปันสุข” ของแต่ละสาขาทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่ต่าง ๆ ได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ราคาถูกกว่าท้องตลาดและพร้อมกันนี้ยังช่วยให้พนักงานของเราแต่ละสาขา 9,000 กว่าคนได้บริโภคสินค้า นอกจากนี้ได้สนับสนุนผู้ประกอบการขนส่งรายย่อยที่ลงทะเบียนผ่าน Platform ขนส่งของบริษัทฯ 800 กว่าคันในการจัดส่งผลผลิตไปยังสาขาต่าง ๆ ของบริษัทฯ ตลอดทั้งปี ซึ่งทางบริษัท ตั้งใจพัฒนา Platform “เกษตรดี” เป็นอีกหนึ่งช่องทางเพื่อส่งเสริมและต่อยอดช่องทางการจำหน่าย อำนวยความสะดวกให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการรายย่อยที่สนใจได้มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถนำเสนอผลผลิตทางการเกษตรให้กับบริษัทฯ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจากโครงการดังกล่าวบริษัทฯ ได้สนับสนุนและกระจายผลผลิตการเกษตรผ่าน Platform “เกษตรดี”

2. โครงการส่งเสริมการจำหน่ายข้าวหอมมะลิ สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด

         ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ถือเป็นข้าวหอมมะลิชั้นยอดและเป็น Product Champion ของจังหวัดร้อยเอ็ดมาอย่างยาวนาน แต่ต้องประสบกับปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และไม่สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ ส่งผลให้ข้าวในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดค้างสต็อก เพื่อร่วมบรรเทาปัญหาข้าวค้างสต็อกและช่วยเหลือเกษตรกร บริษัทฯ ได้รับซื้อข้าวหอมมะลิ ขนาดบรรจุถุง 5 กิโลกรัม จากสหกรณ์การเกษตรวิสัย จำกัด จำนวน 80,000 ถุง หรือ 400 ตัน และกระจายข้าวหอมมะลิไปยัง “พื้นที่ปันสุข” ทุกสาขาทั่วประเทศ 77 สาขา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

3. การสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย “โครงการช่างดี”

         บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งหวังที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคมและชุมชนที่บริษัทฯ ได้เปิดดำเนินธุรกิจกว่า 77 สาขาทั่วประเทศ จึงได้มีการจัดตั้ง “โครงการช่างดี” ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้ช่างหรือผู้ประกอบการรายย่อย ภายในท้องถิ่นมาร่วมงานกับบริษัทฯ และตลอดระยะเวลาที่เราได้เปิดโอกาสให้ช่างหรือผู้ประกอบการรายย่อยที่ประกอบกิจการงานติดตั้ง โดยกระจายงานการบริการติดตั้งกว่า 70 รายการ เช่น ติดตั้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า สุขภัณฑ์ ปั๊มน้ำ โซล่าเซลล์ รางน้ำฝน กลอนประตูดิจิตอล ระบบประตูอัตโนมัติ โรงจอดรถ เครื่องครัว ฯลฯ ให้กับช่างและผู้ประกอบการรายย่อย และทางบริษัทฯ ได้มีการร่วมมือกับพันธมิตรกับทางธุรกิจ (Business Partner) Mitsubishi Samsung Haier Midea C Hi – Tech SCG ฯลฯ

4. กิจกรรมเพื่อสังคม "โครงการปันสุขสร้างรอยยิ้ม"

         บริษัทฯ ให้การสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมาโดยตลอด ไม่ว่าในรูปแบบของการบริจาคเงินช่วยเหลือ สิ่งของ หรือการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ และเอกชนผ่านทางหน่วยงานสาขา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชน

         บริษัทฯ ได้มอบสินค้าเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนแก่โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยเทคนิค จังหวัด ที่มีสาขาเปิดดำเนินการ

ด้านการแพทย์

         บริษัทฯ ได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ประกอบด้วยเครื่องฟอกไต และชุดจี้เข็มความร้อนระงับความเจ็บปวด ด้วยเครื่องความถี่วิทยุชนิด 4 ช่องสัญญาณ เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ และการรักษาผู้ป่วย

ด้านการช่วยเหลือผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส

         บริษัทฯ เป็นร่วมส่วนหนึ่งในการระดมเงินบริจาค จากผู้มีจิตศรัทธาและพนักงานโกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขาให้แก่มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดร้อย โดยการตั้งตู้รับบริจาคเงินภายในร้านซึ่งสามารถรวบรวมเงินบริจาคได้มาถึง 410,000.00 บาท รวมถึงได้สนับสนุนรางวัล ในกิจกรรม งานวันคนพิการสากล และมอบเงินบริจาคเพื่อสมทบทุนจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการ

ด้านศาสนา

         บริจาคเงินและมอบสินค้า วัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างและบูรณะโบสถ์ กุฏิ และศาลาปฏิบัติธรรม

Scroll to Top