นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน

         เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล และเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัทฯ จึงนำแนวทางตามมาตรฐานสากลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมาเป็นกรอบการพัฒนาในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้วิเคราะห์ผลกระทบและการสร้างคุณค่าให้เกิดความสมดุลครอบทั้ง 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้วยการนำแนวคิดการพัฒนาความยั่งยืนบูรณาการให้เกิดความเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ ตั้งแต่ การจัดหาสินค้า การจัดเก็บและกระจายสินค้า การตลาดและการขาย การส่งมอบสินค้า และการบริการหลังการขาย

กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน

         โกลบอลเฮ้าส์ ดำเนินธุรกิจตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร เพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ควบคู่กับการส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม พร้อมกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม “SMART LIVING SOLUTIONS” ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้บริษัทจึงได้กำหนดกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน ดังนี้

ประเด็นการพัฒนาด้านความยั่งยืน

ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ

         โกลบอลเฮ้าส์ บริหารจัดการประเด็นการพัฒนาด้านความยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งต่อการกำกับและเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

การประเมินประเด็นที่สำคัญด้านความยั่งยืน

         บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยสร้างมูลค่าทางธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม และสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม บริษัทฯ จึงได้ดำเนินกระบวนการประเมินที่สำคัญด้านความยั่งยืน ดังนี้

ผลประเมินประเด็นที่สำคัญด้านความยั่งยืน ปี 2565

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

1. ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า

         บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้สร้างนวัตกรรมด้านสินค้าและบริการเพื่อการอยู่อาศัยที่สนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม พร้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Smart Living Solutions) บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญต่อทุกกระบวนการของห่วงโซ่ธุรกิจครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรมและมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

2. การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

         บริษัทฯ ได้วิเคราะห์และระบุผู้ส่วนได้เสียที่สำคัญ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอก โดยสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ และนำความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียมาดำเนินการเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

Scroll to Top